Wandee Sirapat

All posts by Wandee Sirapat

สถานการณ์การปนเปื้อนของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิลในสิ่งแวดล้อม อาหาร และการได้รับสัมผัสในประชากรไทย

ดร.ทวิช สุริโย, ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา, และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: SC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยการลดและ/หรือเลิกการผลิต การใช้และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants: POPs) รวมทั้งการกำจัดสารดังกล่าวให้หมดไป ซึ่งสาร POPs เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ตกค้างยาวนาน สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต ในห่วงโซ่อาหาร และในสิ่งแวดล้อมได้มาก และยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันสาร POPs ที่ถูกบรรจุอยู่ในอนุสัญญาสตอกโฮล์ม มีมากถึง 30 ชนิด หนึ่งในกลุ่มสารเคมีเหล่านั้น ได้แก่ สารกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิล (Per/polyfluoroalkyl substances: PFASs) ทั้งนี้ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2005 ส่งผลให้อนุสัญญามีผลบังคับใช้กับประเทศไทย… (read more)

การประชุมเสวนา Online (30 พฤศจิกายน 2566) เรื่อง “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 เรื่องสุขภาพ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม”

จัดโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศ และภูมิอากาศ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

การประชุมวิชาการประจำปี 2566 (25 พฤศจิกายน 2566) เรื่อง Trends in Environmental Health

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพฯ กำหนดการ (download PDF file) ————————- กล่าวถ้อยแถลงการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยาโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา พิธีเปิดและ Keynote speech เรื่อง ทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของศูนย์ความเป็นเลิศ โศาสตราจารย์เกียรติคุณดร. นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง New paradigm on environmental healthโดย นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐกรรมการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ปรึกษาสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขด้านต่างประเทศ การอภิปราย เรื่อง แนวโน้มการเกิดและแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงกับแผนอนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศโดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย1. นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย2. นางกัญชลี นาวิกภูมิ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ3. นายแพทย์ยงเจือ เหล่าศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคผู้ดำเนินการอภิปราย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร ฟองสถิตย์กุล ผู้แทน คณะสาธารณสุขศาสตร์… (read more)

การประชุมวิชาการระดับชาติ (24 พฤศจิกายน 2566) เรื่อง “สถานการณ์และแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์” จัดโดย ศูนย์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download PDF file) | Poster (download PDF file) สรุปรายงานการประชุม (download PDF file) การประเมินผลการประชุม ศูนย์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (Hub of Talents in Environmental Health) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินงานโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “สถานการณ์และแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์” เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้อง Meeting 1 ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ในการหาแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนางานวิจัยที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ จากภาครัฐ ที่กำกับดูแลนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่… (read more)

ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี