Wandee Sirapat

All posts by Wandee Sirapat

แคดเมียมสะสมในร่างกายได้หรือไม่?

สุมลธา หนูคาบแก้ว, สุมิตรา สุนทรารักษ์, ดร.นุชนาถ รังคดิลก, ดร.จันทมาศ คณิตวิทยานันท์ และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา แคดเมียม (Cadmium; Cd) เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่ไม่มีกลิ่น มีจุดหลอมละลาย (melting point) เท่ากับ 321°C และจุดเดือด (boiling point) เท่ากับ 765°C (Faroon et al. 2012) แคดเมียมเป็นโลหะที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะละลายได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดหรือเมื่ออยู่ในรูปของสารประกอบของเกลือ เช่น แคดเมียมซัลเฟต แคดเมียมคลอไรด์ เป็นต้น นอกจากนี้แคดเมียมสามารถอยู่ในรูปของฝุ่นหรือไอระเหยที่เกิดจากอุตสาหกรรมที่มีการอบ เผา เชื่อม หลอม ผสมหรือเคลือบด้วยแคดเมียมการนำแคดเมียมมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ การชุบโลหะ การผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะผสม การผลิตแบตเตอรี่ การใช้เป็นเม็ดสี การใช้ผสมเป็นสารฆ่าเชื้อรา เป็นต้น แคดเมียมมีอยู่ตามธรรมชาติและในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ จะเป็นกากแร่ซึ่งเกิดจากการถลุงตะกั่ว ทองแดง หรือสังกะสี… (read more)

การเสวนา “ถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศรายภาคส่วนในประเทศไทย อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต” (10 เมษายน 2567)

จัดโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

การเสวนา “รู้ทันฝุ่น PM2.5 เพื่อสุขภาพ และแก้ไข ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” (16 กุมภาพันธ์ 2567, 13.30 น.)

สถานการณ์การปนเปื้อนของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิลในสิ่งแวดล้อม อาหาร และการได้รับสัมผัสในประชากรไทย

ดร.ทวิช สุริโย, ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา, และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: SC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยการลดและ/หรือเลิกการผลิต การใช้และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants: POPs) รวมทั้งการกำจัดสารดังกล่าวให้หมดไป ซึ่งสาร POPs เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ตกค้างยาวนาน สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต ในห่วงโซ่อาหาร และในสิ่งแวดล้อมได้มาก และยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันสาร POPs ที่ถูกบรรจุอยู่ในอนุสัญญาสตอกโฮล์ม มีมากถึง 30 ชนิด หนึ่งในกลุ่มสารเคมีเหล่านั้น ได้แก่ สารกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิล (Per/polyfluoroalkyl substances: PFASs) ทั้งนี้ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2005 ส่งผลให้อนุสัญญามีผลบังคับใช้กับประเทศไทย… (read more)