Posts filed under announcement

การปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนไทย

ดร.นุชนาถ รังคดิลก สุมลธา หนูคาบแก้ว รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ แผนกปฏิบัติการวิเคราะห์ หน่วยวิจัยและวิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ทุเรียน เป็นผลไม้ไทยอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก หนึ่งในประเทศที่นำเข้าทุเรียนจากไทยเป็นจำนวนมากก็คือ ประเทศจีน สำหรับการส่งออกทุเรียนไปจีนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 27 ส.ค.2567 ไทยส่งออกทุเรียนไปแล้ว 714,334 ตัน มีมูลค่าถึง 94,870 ล้านบาท การส่งออกทุเรียนไปยังจีนจึงถือเป็นรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจของไทย แต่ในปี 2567 นี้ ทางจีนได้มีรายงานการแจ้งเตือนการตรวจพบการปนเปื้อน “แคดเมียม” ในทุเรียนไทยที่ส่งออกไปจีน โดยได้มีการแจ้งเตือนมาตั้งแต่ 11 มี.ค. 2567 จนถึงปัจจุบันมีการแจ้งเตือนแล้ว จำนวน 6 ครั้ง จากผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ 12 ราย และแหล่งผลิตจำนวน 15 สวน จำนวน 16 ล็อต (อ้างอิงจาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/343652) และก่อนหน้านี้ทางกรมกักกันสัตว์และพืชของศุลกากรแห่งชาติจีนก็ได้มีการส่งเอกสารเตือนไปยังสถานทูตเวียดนามในจีนระบุว่ามีการตรวจพบทุเรียนนำเข้าจากเวียดนามถึง 77… (read more)

แคดเมียมสะสมในร่างกายได้หรือไม่?

สุมลธา หนูคาบแก้ว, สุมิตรา สุนทรารักษ์, ดร.นุชนาถ รังคดิลก, ดร.จันทมาศ คณิตวิทยานันท์ และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา แคดเมียม (Cadmium; Cd) เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่ไม่มีกลิ่น มีจุดหลอมละลาย (melting point) เท่ากับ 321°C และจุดเดือด (boiling point) เท่ากับ 765°C (Faroon et al. 2012) แคดเมียมเป็นโลหะที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะละลายได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดหรือเมื่ออยู่ในรูปของสารประกอบของเกลือ เช่น แคดเมียมซัลเฟต แคดเมียมคลอไรด์ เป็นต้น นอกจากนี้แคดเมียมสามารถอยู่ในรูปของฝุ่นหรือไอระเหยที่เกิดจากอุตสาหกรรมที่มีการอบ เผา เชื่อม หลอม ผสมหรือเคลือบด้วยแคดเมียมการนำแคดเมียมมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ การชุบโลหะ การผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะผสม การผลิตแบตเตอรี่ การใช้เป็นเม็ดสี การใช้ผสมเป็นสารฆ่าเชื้อรา เป็นต้น แคดเมียมมีอยู่ตามธรรมชาติและในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ จะเป็นกากแร่ซึ่งเกิดจากการถลุงตะกั่ว ทองแดง หรือสังกะสี… (read more)