Posts filed under announcement

การปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนไทย

ดร.นุชนาถ รังคดิลก สุมลธา หนูคาบแก้ว รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ แผนกปฏิบัติการวิเคราะห์ หน่วยวิจัยและวิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ทุเรียน เป็นผลไม้ไทยอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก หนึ่งในประเทศที่นำเข้าทุเรียนจากไทยเป็นจำนวนมากก็คือ ประเทศจีน สำหรับการส่งออกทุเรียนไปจีนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 27 ส.ค.2567 ไทยส่งออกทุเรียนไปแล้ว 714,334 ตัน มีมูลค่าถึง 94,870 ล้านบาท การส่งออกทุเรียนไปยังจีนจึงถือเป็นรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจของไทย แต่ในปี 2567 นี้ ทางจีนได้มีรายงานการแจ้งเตือนการตรวจพบการปนเปื้อน “แคดเมียม” ในทุเรียนไทยที่ส่งออกไปจีน โดยได้มีการแจ้งเตือนมาตั้งแต่ 11 มี.ค. 2567 จนถึงปัจจุบันมีการแจ้งเตือนแล้ว จำนวน 6 ครั้ง จากผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ 12 ราย และแหล่งผลิตจำนวน 15 สวน จำนวน 16 ล็อต (อ้างอิงจาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/343652) และก่อนหน้านี้ทางกรมกักกันสัตว์และพืชของศุลกากรแห่งชาติจีนก็ได้มีการส่งเอกสารเตือนไปยังสถานทูตเวียดนามในจีนระบุว่ามีการตรวจพบทุเรียนนำเข้าจากเวียดนามถึง 77… (read more)

แคดเมียมสะสมในร่างกายได้หรือไม่?

สุมลธา หนูคาบแก้ว, สุมิตรา สุนทรารักษ์, ดร.นุชนาถ รังคดิลก, ดร.จันทมาศ คณิตวิทยานันท์ และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา แคดเมียม (Cadmium; Cd) เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งที่ไม่มีกลิ่น มีจุดหลอมละลาย (melting point) เท่ากับ 321°C และจุดเดือด (boiling point) เท่ากับ 765°C (Faroon et al. 2012) แคดเมียมเป็นโลหะที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะละลายได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดหรือเมื่ออยู่ในรูปของสารประกอบของเกลือ เช่น แคดเมียมซัลเฟต แคดเมียมคลอไรด์ เป็นต้น นอกจากนี้แคดเมียมสามารถอยู่ในรูปของฝุ่นหรือไอระเหยที่เกิดจากอุตสาหกรรมที่มีการอบ เผา เชื่อม หลอม ผสมหรือเคลือบด้วยแคดเมียมการนำแคดเมียมมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ การชุบโลหะ การผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะผสม การผลิตแบตเตอรี่ การใช้เป็นเม็ดสี การใช้ผสมเป็นสารฆ่าเชื้อรา เป็นต้น แคดเมียมมีอยู่ตามธรรมชาติและในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ จะเป็นกากแร่ซึ่งเกิดจากการถลุงตะกั่ว ทองแดง หรือสังกะสี… (read more)

สถานการณ์การปนเปื้อนของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิลในสิ่งแวดล้อม อาหาร และการได้รับสัมผัสในประชากรไทย

ดร.ทวิช สุริโย, ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา, และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: SC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยการลดและ/หรือเลิกการผลิต การใช้และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants: POPs) รวมทั้งการกำจัดสารดังกล่าวให้หมดไป ซึ่งสาร POPs เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ตกค้างยาวนาน สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต ในห่วงโซ่อาหาร และในสิ่งแวดล้อมได้มาก และยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันสาร POPs ที่ถูกบรรจุอยู่ในอนุสัญญาสตอกโฮล์ม มีมากถึง 30 ชนิด หนึ่งในกลุ่มสารเคมีเหล่านั้น ได้แก่ สารกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิล (Per/polyfluoroalkyl substances: PFASs) ทั้งนี้ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2005 ส่งผลให้อนุสัญญามีผลบังคับใช้กับประเทศไทย… (read more)

รายงานผลการศึกษาเรื่อง Air Quality Assessments for Health and Environment Policies in Thailand

[Download รายงานฉบับเต็ม]   ในปี พ.ศ. 2560 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme  หรือ UNEP) ได้จัดทำโครงการการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษอากาศในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งได้คัดเลือกการศึกษาใน 3 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐมองโกเลีย และประเทศไทย สำหรับประเทศไทย ด้วยผลงานวิจัยด้านมลพิษอากาศเป็นที่ประจักษ์ในศักยภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการ  ในปี พ.ศ. 2560  UNEP ได้คัดเลือกให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (EHT) โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันหลัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการ “การประเมินคุณภาพอากาศเพื่อนโยบายด้านสุขภาพอนามัยและด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Air Quality Assessments for Health and Environment Policies in Thailand)” เพื่อประเมินสถานการณ์และข้อมูลทางวิชาการประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่อง การจัดการคุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานจัดทำ และปรับปรุงมาตรการและมาตรฐานด้านการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย… (read more)