Posts filed under announcement

การรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร
ที่มีปริมาณสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน มีพิษต่อตับหรือไม่?

ดร.ทวิช สุริโย, ดร.ภญ.ผาณิต ทรงวุฒิ, รศ.ดร.ภญ.ดวงจิตต์ พนมวัน ณ อยุธยา, ดร.ภรณี ปูรณโชติ, ดร.ภญ.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา และ รศ.ดร.ภญ.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อความกังวลต่อสุขภาพของประชาชนไทยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งการแพร่ระบาดนี้ มีแนวโน้มที่จะขยายวงกว้างและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยากที่จะควบคุมได้ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแนวคิดที่จะนำฟ้าทะลายโจรอันเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน มาใช้ประโยชน์ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการใช้ฟ้าทะลายโจร หรือสารสกัดฟ้าทะลายโจร ยังคงเป็นประเด็นในสื่อสังคมและสื่อออนไลน์อย่างมากมาย ทั้งในแง่ความปลอดภัย และขนาดการใช้ หรือความเหมาะสมที่จะใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการป้องกัน หรือบรรเทาอาการ ร่วมกับการได้รับการรักษาในแนวทางอื่นๆ ที่มีอยู่ในขณะนี้ทั้งนี้เมื่อพิจารณาการใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจร ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ซึ่งมีคำแนะนำในการรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร ที่มีสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ในขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน (แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง) ติดต่อกัน 5 วัน โดยมุ่งหวังให้ใช้ในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย… (read more)

ฟ้าทะลายโจร: รักษาโรคโควิด-19 ได้อย่างไร?

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, ดร.ทวิช สุริโย, นันทนิจ ผลพนา, และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา การพบคนไทยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศ โรคติดเชื้อโควิด-19 ได้กลับมาสร้างความวิตกกังวลให้คนไทยทั้งประเทศอีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ เมื่อมีการพบผู้ป่วยคนไทยติดเชื้อโควิด-19 ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นคนไทยที่กลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้เกิดการคาดคะเนว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การระบาดรอบที่สองของเชื้อโควิด-19 เหมือนประเทศอื่นๆ หรือไม่ความหวังของการป้องกันการระบาดของไวรัสชนิดนี้ก็คือ การใช้วัคซีนป้องกันโรค ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการแข่งขันในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในหลายประเทศ และภายในเดือนธันวาคมนี้ ได้มีการอนุมัติและได้เริ่มฉีดวัคซีนที่ใช้เวลาในการคิดค้นและทดสอบในระยะเวลาอันรวดเร็วในประเทศรัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น มีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ใช้ได้ประมาณกลางปี 2564 และหากว่าประเทศไทยมีการระบาดรอบที่สองจริง ผู้ป่วยจะมียารักษาโรคโควิด-19 หรือไม่? ยารักษาโรคโควิด-19 ชนิดรุนแรง คือ Remdesivir ของบริษัท Gilead Sciences มีราคาแพง แม้จะซื้อในราคามิตรภาพที่ประมาณ 2,340 ดอลล่าสหรัฐ หรือ 70,200… (read more)

ฟ้าทะลายโจร: การนำไปใช้และข้อควรระวัง

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา, ทวิช สุริโย และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ถึงเวลานี้ คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักฟ้าทะลายโจร สมุนไพรที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคหวัดและท้องเสีย ชื่อนี้เป็นข่าวใหญ่ในประเทศไทยขึ้นมา เมื่อมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก และฟ้าทะลายโจรได้ถูกนำมาใช้ในการทดสอบกับไวรัส COVID-19 แต่ยังเป็นเพียงผลการทดลองในหลอดทดลองเท่านั้น ส่วนการทดลองในการนำไปใช้ในผู้ป่วยติดเชื้อนี้นั้นยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่ก็มีการพูดถึงการนำฟ้าทะลายโจรไปใช้ทั้งในการป้องกันและรักษาอย่างมากมาย มีทั้งข่าวจริงและข่าวไม่จริงบ้าง และก็ทำให้คนแห่ซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรเป็นอย่างมาก จนเกิดการขาดแคลนหรือมีราคาสูงขึ้น ในฐานะทีมวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรมาเป็นเวลานาน โดยเริ่มการศึกษาตั้งแต่การปลูกต้นฟ้าทะลายโจร การตรวจวิเคราะห์สารสำคัญทางเคมีในพืชระยะต่างๆ การพัฒนาวิธีการแยกสารบริสุทธิ์และเตรียมสารสกัดมาตรฐานของฟ้าทะลายโจรที่มีสารสำคัญตามที่ต้องการ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดมาตรฐาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฟ้าทะลายโจร รวมทั้งการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของการรับประทานผงฟ้าทะลายโจรแคปซูลในอาสาสมัครสุขภาพดี เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารสำคัญที่มีฤทธ์ในทางยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงอยากจะมาแชร์ข้อมูลงานวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำฟ้าทะลายโจรไปใช้ในทางยา รวมทั้งข้อพึงระวังจากการใช้ยา โดยเฉพาะการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อจะได้มีการนำไปใช้อย่างระมัดระวังและทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รูปที่ 1. ต้นฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจร (รูปที่ 1) เป็นไม้ล้มลุก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis paniculata… (read more)

ทำไมถึงต้องเป็น….ห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025?

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว, นันทนิจ ผลพนา และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา/แผนกปฏิบัติการวิเคราะห์ หน่วยวิจัยและวิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา วันนี้อยากจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025 และทำไมเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีห้องปฏิบัติการทดสอบในการทำวิจัยหรือเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ หลายๆคนคงสงสัยว่า มาตรฐาน ISO/IEC 17025 คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานสากลที่ร่วมกันระหว่าง International Organization for Standardization กับ International Electrotechnical Commission เพื่อกำหนดข้อกำหนดทั่วไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน (General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories) ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานสากลที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของการทดสอบ หรือการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ มีความสำคัญอย่างยิ่งกับภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ส่งออกสินค้า ที่มีความจำเป็นต้องใช้ผลการทดสอบ/สอบเทียบ ที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และเชื่อถือได้… (read more)

ข้อมูลด้านพิษวิทยาของ Chlorpyrifos ในช่วงทศวรรษนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา 1. Chlorpyrifos และผลกระทบต่อระบบประสาทของเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มที่เปราะบางเพราะมีน้ำหนักตัวน้อย พัฒนาการของระบบต่างๆในร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมจึงมีผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ US EPA ได้ประกาศให้มีการค่อยๆเลิกใช้ Chlorpyrifos ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยตั้งต้นแต่ปี ค.ศ.2000-2001 และได้มีการศึกษาผลกระทบของมาตรการดังกล่าวในปี ค.ศ. 2003-2005 ในการรวบรวมข้อมูลจาก 50 ครัวเรือนซึ่งมีเด็กอายุ 3 ขวบ พบว่ามาตรการของ US EPA ได้ผล ทำให้เด็กได้รับสารกำจัดแมลงน้อยลง (Wilson et al., 2010) ในปี ค.ศ.2012 Rauh และคณะได้รายงานผลการวิจัยในวารสาร PNAS ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำของสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาเด็ก 40 คน อายุระหว่าง 5.9-11.2 ปี ซึ่งมารดาได้รับสาร Chlorpyrifos ระหว่างตั้งครรภ์ โดยการตรวจวัดสารนี้ในเลือดจากรกมารดา… (read more)