Posts filed under บทความน่ารู้

ถั่วเหลืองในประเทศไทยและสารไกลโฟเสท

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์* ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ถั่วเหลืองจัดเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีจากพืชซึ่งมีราคาถูก และให้ผลดีต่อสุขภาพเมื่อเทียบกับโปรตีนจากสัตว์หลายชนิด ในถั่วเหลืองจะมีน้ำมัน 20% และมีโปรตีน 40% โดยน้ำหนัก ส่วนที่เหลือจะเป็นคาร์โบไฮเดรต 35% น้ำมันจากถั่วเหลืองจะมีส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็น (essential fatty acid) ต่อร่างกาย ได้แก่ กรดลิโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า-3 (omega-3 fatty acid) และกรดลิโนเลนิก (linolenic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6 (omega-6 fatty acid) ในปริมาณสูง ซึ่งสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ผิวหนัง และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกและเด็ก จึงเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีวิตามินอี (vitamin E) ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำมัน และมีสารเลซิทิน (lecithin) และสารไฟโตอีสโทรเจน (phytoestrogen) ซึ่งไฟโตอีสโตรเจนที่พบมากในถั่วเหลือง… (read more)

ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) – ข้อมูลวิชาการที่น่ารู้

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees) เป็นสมุนไพรที่ได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (บัญชียาจากสมุนไพร) กระทรวงสาธารณสุข มีข้อบ่งใช้ คือ แก้ไข้ เจ็บคอ รักษาอาการท้องเสียไม่ติดเชื้อ โดยใช้เป็นแคปซูล/ยาเม็ด/ยาเม็ดลูกกลอน ที่บรรจุผงฟ้าทะลายโจรอบแห้งปริมาณต่างๆกัน ปัจจุบันมีสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในท้องตลาดทั้งที่ผลิตจากโรงงานผลิตยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข และในลักษณะผลิตภัณฑ์จากชุมชน (OTOP) เพื่อใช้ในบรรเทาอาการหวัดเจ็บคอ รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารอย่างแพร่หลายจากรายงานผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สรุปได้ว่า สารสกัดสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านไวรัส HIV1 ไข้หวัด (common cold)2 ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย3 กระตุ้นภูมิคุ้มกัน4 ลดความดันเลือด5,6 ต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด7 ป้องกันความเป็นพิษของตับ8 ลดไข้และต้านการอักเสบ9,10 และฆ่าเชื้อมาลาเรีย11 เป็นต้น ได้มีการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วย 158 คน ที่ประเทศชิลี เพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลของสารสกัดฟ้าทะลายโจรในการรักษาอาการอันเนื่องจากหวัด… (read more)

“ฟ้าทะลายโจร” สมุนไพรที่รู้จักแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นันทนิจ ผลพนา, ดร.นุชนาถ รังคดิลก และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ทำการวิจัยฟ้าทะลายโจรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ราษฎรอย่างอย่างแท้จริงศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้ทรงเชิญประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และทรงมอบหมายพระนโยบายให้สถาบันทำโครงการเพื่อสนองพระราชประสงค์ โดยมอบหมายให้สำนักวิจัย/วิชาการ ซึ่งขณะนั้นกำลังจัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพสตรีโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อขอรับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักวิจัย/วิชาการ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนายาสมุนไพรโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีพื้นที่โครงการอยู่ที่หมู่บ้านทับทิมสยาม 05 อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ของสำนักกิจกรรมพิเศษ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โครงการเพิ่มศักยภาพสตรีด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ ประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือ 1. สาธิตและฝึกอบรมการปลูกสมุนไพรด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ มีการรวมกลุ่มสตรีเพื่อทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ จัดเวรกันดูแลสมุนไพร ประกอบด้วย ฟ้าทะลายโจร ขมิ้น และไพล 2. การเก็บเกี่ยวสมุนไพรและวิธีการอบแห้งที่สะอาดเพื่อบรรจุส่งขายให้โรงพยาบาลที่ใช้สมุนไพร 3. การเตรียมทำยาสมุนไพรที่ปลูกเพื่อใช้ในครัวเรือน 4. การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสมุนไพร 5. กิจกรรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการทำบัญชีครัวเรือน หลังจากจบโครงการ 4… (read more)

สารหนูและแคดเมียม ในอาหารทะเล…ปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่?

ดร. นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ.ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา อาหารทะเล…ถึงแม้ว่าจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่หลายๆคนก็ยังชอบรับประทาน ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก เมื่อนำมาประกอบอาหาร ล้วนแต่มีรสชาติถูกปาก เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะไอโอดีน ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการสร้างไธรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมพัฒนาการของสมอง อาหารที่มีไอโอดีนสูง ได้แก่ อาหารทะเลทั้งสัตว์และพืช เช่น ปลาทะเล กุ้งทะเล สาหร่ายทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเติมไอโอดีนในเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น เกลือ เป็นต้น เพื่อให้สะดวกต่อการบริโภคได้ทุกวัน แต่จากข่าวในหนังสือพิมพ์ ที่มีการตรวจพบปริมาณสารหนูในอาหารทะเล ได้แก่ ตัวอย่างปลาหมึกแห้ง (5 ตัวอย่าง; วันที่ 28 ม.ค. 2554) มีปริมาณสารหนู 0.339-0.858 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/144507),… (read more)

ความคืบหน้า งานวิจัยสารหนูในข้าว

น.ส. สุมลธา หนูคาบแก้ว, ดร.นุชนาถ รังคดิลก และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา สำนักงานพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์ความเป็นเลิศฯ ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัย เรื่อง การตรวจวิเคราะห์สารหนูในข้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเก็บตัวอย่างข้าวจากจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศ มาทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารหนูอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังปริมาณสารหนูในข้าวเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และได้มีการเผยแพร่บทความที่ได้จากงานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณสารหนูในข้าว ในวารสารต่างประเทศ และใน website ของศูนย์ความเป็นเลิศฯ และจากบทความ เรื่อง “ปริมาณของสารหนูในข้าว” ที่ได้เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ใน Website ของศูนย์ความเป็นเลิศฯ คณะผู้วิจัยได้เขียนรวบรวมงานวิจัยของประเทศอื่นๆที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสารหนูในข้าวและความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลที่มีการศึกษาในต่างประเทศในพื้นที่ที่มีปริมาณสารหนูในธรรมชาติสูง อาจจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิดมากกว่าคนอื่นๆ ในตอนท้ายของบทความได้สรุปไว้ว่า งานวิจัยจากต่างประเทศนั้นพบว่า ตัวอย่างข้าวไทยมีปริมาณสารหนูน้อยกว่าข้าวจากประเทศอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจวิเคราะห์สารหนูในข้าว มีความยุ่งยากซับซ้อน… (read more)