Posts filed under บทความน่ารู้

สารหนูและแคดเมียม ในอาหารทะเล…ปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่?

ดร. นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ.ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา อาหารทะเล…ถึงแม้ว่าจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่หลายๆคนก็ยังชอบรับประทาน ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก เมื่อนำมาประกอบอาหาร ล้วนแต่มีรสชาติถูกปาก เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะไอโอดีน ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการสร้างไธรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมพัฒนาการของสมอง อาหารที่มีไอโอดีนสูง ได้แก่ อาหารทะเลทั้งสัตว์และพืช เช่น ปลาทะเล กุ้งทะเล สาหร่ายทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเติมไอโอดีนในเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น เกลือ เป็นต้น เพื่อให้สะดวกต่อการบริโภคได้ทุกวัน แต่จากข่าวในหนังสือพิมพ์ ที่มีการตรวจพบปริมาณสารหนูในอาหารทะเล ได้แก่ ตัวอย่างปลาหมึกแห้ง (5 ตัวอย่าง; วันที่ 28 ม.ค. 2554) มีปริมาณสารหนู 0.339-0.858 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/144507),… (read more)

ความคืบหน้า งานวิจัยสารหนูในข้าว

น.ส. สุมลธา หนูคาบแก้ว, ดร.นุชนาถ รังคดิลก และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา สำนักงานพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์ความเป็นเลิศฯ ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัย เรื่อง การตรวจวิเคราะห์สารหนูในข้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเก็บตัวอย่างข้าวจากจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศ มาทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารหนูอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังปริมาณสารหนูในข้าวเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และได้มีการเผยแพร่บทความที่ได้จากงานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณสารหนูในข้าว ในวารสารต่างประเทศ และใน website ของศูนย์ความเป็นเลิศฯ และจากบทความ เรื่อง “ปริมาณของสารหนูในข้าว” ที่ได้เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ใน Website ของศูนย์ความเป็นเลิศฯ คณะผู้วิจัยได้เขียนรวบรวมงานวิจัยของประเทศอื่นๆที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสารหนูในข้าวและความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลที่มีการศึกษาในต่างประเทศในพื้นที่ที่มีปริมาณสารหนูในธรรมชาติสูง อาจจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิดมากกว่าคนอื่นๆ ในตอนท้ายของบทความได้สรุปไว้ว่า งานวิจัยจากต่างประเทศนั้นพบว่า ตัวอย่างข้าวไทยมีปริมาณสารหนูน้อยกว่าข้าวจากประเทศอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจวิเคราะห์สารหนูในข้าว มีความยุ่งยากซับซ้อน… (read more)

การใช้จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพืชในการบำบัดการปนเปื้อน
โลหะหนักในสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร. ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนักในดินและน้ำ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการทำเหมืองแร่ หรือจากกากของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับในประเทศไทยที่ผ่านมาก็มีรายงานการปนเปื้อนโลหะหนักที่รุนแรงในหลายพื้นที่ เช่น การปนเปื้อนสารแคดเมียมในห้วยแม่ตาว จังหวัดตาก การปนเปื้อนสารตะกั่วในห้วยคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี และการปนเปื้อนสารหนูในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น แม้ว่าที่ผ่านมาเรามักใช้วิธีทางกายภาพและเคมีในการบำบัดการปนเปื้อนโลหะหนัก เช่น การกรอง การตกตะกอนทางเคมี การแยกกรองด้วยไฟฟ้า เป็นต้น (Dermont et al., 2008) แต่ในปัจจุบันการบำบัดด้วยวิธีทางชีวภาพกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายต่ำ และไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในพื้นที่บำบัด หนึ่งในนั้นก็คือวิธีการบำบัดด้วยพืช (phytoremediation) ซึ่งเป็นเทคนิคการนำพืชมาใช้ช่วยดูดโลหะหนักจากดินและน้ำที่ปนเปื้อนขึ้นไปสะสมไว้ที่ใบ ลำต้น หรือรากของพืช หลังจากนั้นจึงค่อยนำส่วนต่างๆ ของพืชไปเผาหรือฝังกลบต่อไป ดังนั้นพืชที่เหมาะสมในการนำมาใช้นั้นจึงควรเป็นพืชที่มีความทนทานต่อโลหะหนักและสามารถสะสมโลหะหนักได้ในปริมาณมาก (Raskin et al., 1997) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ ให้ดียิ่งขึ้นจึงมีการนำสารเคมีบางชนิด เช่น EDTA (Ethylene diamine tatra-acitic acid) มาใช้ร่วมด้วย เนื่องจาก… (read more)

ข้าวไทย…ปลอดภัยจากโลหะที่เป็นอันตราย

ดร.นุชนาถ รังคดิลก สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ. ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์่ ข้าวไทย…ปลอดภัยจากโลหะที่เป็นอันตราย (Thai rice is safe from the contamination of toxic metals) จากที่มีผลงานวิจัยของนักวิชาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา (มหาวิทยาลัย Monmouth ในรัฐ New Jersey) รายงานว่า ข้าวจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาใต้ ที่นำเข้าไปขายในสหรัฐอเมริกามีปริมาณสารตะกั่วปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะทารกและเด็กเล็ก ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างข้าวที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในสหรัฐอเมริกา ทั้งจากภูฏาน, อิตาลี, จีน, ไต้หวัน, อินเดีย, อิสราเอล, สาธารณรัฐเช็ก และไทย ซึ่งข้าวที่นำเข้าเหล่านี้คิดเป็น 65% ของข้าวทั้งหมดที่สหรัฐนำเข้า มาทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่ว ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ข้าวทั้งหมดมีปริมาณสารตะกั่ว 6-12 มิลลิกรัมต่อข้าว 1 กิโลกรัม โดยข้าวจากจีนและไต้หวัน มีปริมาณสารตะกั่วปนเปื้อนสูงที่สุด… (read more)

เมล็ดลิ้นจี่ เซี่ยงจี๊ น้ำซาวข้าว…ปลอดภัยต่อไตจริงหรือ?

ดร. นุชนาถ รังคดิลก และ รศ.ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์่ ผู้เขียนได้บังเอิญอ่านเจอข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (ฉบับวันพฤหัสที่ 28 มี.ค. 2556 หน้า 10) ที่ได้เตือนผู้บริโภคหรือผู้ป่วยโรคไตเกี่ยวกับสูตรยาสมุนไพรรักษาโรคไตที่ว่ากันว่าถูกส่งต่อมาจากประเทศไต้หวันเมื่อราว 7 ปีก่อน ซึ่งสูตรสมุนไพรที่ถูกกล่าวถึงนี้เป็นการนำเอาเมล็ดลิ้นจี่สดมาทุบบดต้มรวมกับไตหมู (เซี่ยงจี๊) และน้ำซาวข้าว ให้ผู้ป่วยโรคไตดื่มจะทำให้มีอาการดีขึ้น ในข่าวระบุว่าผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ อายุรวัฒน์นานาชาติได้กล่าวเตือนถึงการนำสูตรสมุนไพรนี้มาใช้กับผู้ป่วยโรคไตว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เนื่องจากในเมล็ดลิ้นจี่ ไตหมู และน้ำซาวข้าว มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะทำให้ไตยิ่งทำงานหนักมากขึ้นในการขับออก หากผู้ป่วยรับประทานเข้าไปมากๆ ก็จะเกิดอาการบวมน้ำได้ ดังนั้นสูตรยาสมุนไพรนี้ จึงมีผลในทางตรงกันข้าม แทนที่จะช่วยบรรเทาอาการ อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไตมากยิ่งขึ้น เมื่อดูสูตรสมุนไพรรักษาโรคไตนี้แล้ว ทำให้เกิดความเป็นห่วงใยต่อผู้ป่วยโรคไตเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลงานวิจัยของห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารต่างประเทศเมื่อต้นปีนี้ เรื่อง Evaluation of Trace Elements in Selected Foods and Dietary Intake by Young Children… (read more)