Posts filed under บทความน่ารู้

เรื่องน่ารู้ของ..ผลิตภัณฑ์สาหร่าย..ที่ไม่ควรมองข้าม

ดร.นุชนาถ รังคดิลก* สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์* สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ *อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ สาหร่ายเป็นอาหารว่างที่นิยมบริโภคอย่างมากในคนหลายวัย ทั้งสาหร่ายที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี สาหร่ายที่นำมาเป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายทะเล และสาหร่ายน้ำจืด สาหร่ายทะเลที่นิยมบริโภคคือ ชนิดที่เป็นแผ่นบางๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบรรจุในซองพลาสติก ขายตามซุปเปอร์มาร์เกต เด็กๆจะชอบซื้อรับประทาน เป็นสาหร่ายชนิดอบแห้ง, ทอดกรอบ หรือย่าง มีการปรุงรสชาติต่างๆให้อร่อยถูกปาก ชาวจีนและญี่ปุ่นใช้สาหร่ายสีน้ำตาล (Laminaria) และสาหร่ายสีแดง (Porphyra) หรือที่นิยมเรียกว่า จีฉ่าย มาทำอาหารพวกแกงจืด ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่า สาหร่ายทะเลเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน และไอโอดีน รวมถึงมีใยอาหารสูงด้วย สำหรับสาหร่ายน้ำจืดนิยมนำมาอัดเม็ดบรรจุขวด มีราคาค่อนข้างแพง สารอาหารที่เด่นในสาหร่ายน้ำจืด คือ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน แต่สาหร่ายน้ำจืดจะไม่เป็นแหล่งของไอโอดีน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายควรเลือกพื้นที่การเลี้ยงที่มีน้ำทะเลที่สะอาด ห่างไกลจากแหล่งปนเปื้อน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือแหล่งชุมชน… (read more)

ปริมาณของสารหนูในข้าว

ดร. นุชนาถ รังคดิลก และ รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2555 ที่ผ่านมานี้ ได้มีโอกาสไปเดินดูงาน “เกษตรมหัศจรรย์ ครั้งที่ 3” จัดโดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและเส้นทางเศรษฐีในเครือมติชน ซึ่งจัดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค ในปีนี้ได้จัดงานภายใต้แนวคิดหลัก “ข้าวของพ่อ วิถีพอเพียง” ซึ่งมีการนำพันธุ์ข้าวและพืชหายากต่างๆมาแสดงและจำหน่ายให้ประชาชนที่สนใจจำนวนมาก พันธุ์ข้าวที่นำมาแสดงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ข้าวสินเหล็ก ข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวลืมผัว เป็นต้น ข้าวเหล่านี้เป็นข้าวที่มีสีม่วงเข้ม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและธาตุอาหารสูงกว่าข้าวขาวธรรมดา จากข้อมูลที่ได้ในงาน พบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวได้เป็นอันดับ 6 ของโลก แต่สามารถส่งออกขายเป็นอันดับ 1 ของโลก ข้าวที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลกและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ก็คือ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 200,000 ล้านบาท แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้าวไทยที่ส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆเป็นข้าวที่ได้มาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย เมื่อเร็วๆนี้ได้มีบทความในหนังสือพิมพ์หลายฉบับพูดถึงการวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนของสารหนูในข้าวไทย โดยเฉพาะวิธีการตรวจวิเคราะห์สารหนูที่ได้มาตรฐานและการกำหนดค่าของสารหนูอนินทรีย์ซึ่งมีความเป็นพิษมากกว่าสารหนูทั้งหมด สารหนูอนินทรีย์ (Inorganic… (read more)

ความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเช้า

ดร.นุชนาถ รังคดิลก สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ. ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์่ ถ้าถามว่า คนไทย นิยมรับประทานอะไรเป็นอาหารเช้า ส่วนใหญ่จะได้รับคำตอบว่า ข้าวไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้าวแกง ข้าวต้ม หรือแม้แต่โจ๊ก ถ้าง่ายๆหน่อยสำหรับเด็กไปโรงเรียน ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ธัญพืชอบกรอบ (cereals) หรือผลิตภัณฑ์ข้าวโพดอบกรอบ cornflakes ใส่นม ซึ่งสะดวกและรวดเร็วสำหรับการเร่งรีบในตอนเช้า ดังนั้นข้าวและเมล็ดธัญพืชต่างๆจึงเป็นอาหารหลักของคนไทย หรือแม้แต่คนเอเชียทั่วไป ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีข้าวเป็นผลิตผลหลักทางการเกษตร ข้าวที่ผลิตขึ้นได้ใช้เพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก ในข้าวและเมล็ดธัญพืชจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง เป็นต้น รวมถึงอาจมีการปนเปื้อนของโลหะหนักบางชนิดจากการเพาะปลูกได้ เช่น แคดเมียม ตะกั่ว และสารหนู เป็นต้น โลหะหนักเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะปนเปื้อนอยู่ในดิน น้ำโดยเฉพาะน้ำบาดาล หรือปุ๋ยที่นำมาใช้ในการเพาะปลูก ถ้ามีการสะสมของปริมาณโลหะหนักที่เป็นพิษเหล่านี้สูงในอาหารโดยเฉพาะข้าวที่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรต่างประเทศกำหนดไว้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาคุณภาพข้าวไทยไม่ได้มาตรฐาน และยังส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคได้รับสารเหล่านี้ไปเข้าสู่ร่างกายมากเช่นกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและโลหะหนักในข้าวไทยรวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีข้าวเป็นส่วนผสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็ก และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นการประกันคุณภาพที่ดีของข้าวไทยเพื่อการส่งออก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และพิษวิทยา (Center… (read more)

ล้างโรงเรือนอย่างไร ให้ปลอดภัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การทำความสะอาดหลังน้ำลดมักเป็นการทำความสะอาดคราบสกปรก ตะไคร่น้ำ และการกำจัดเชื้อโรค เชื้อราที่เราอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การป้องกันตนเองของผู้ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันตนเองเบื้องต้นที่ควรจัดเตรียม ได้แก่ แว่นตาป้องกัน หน้ากากกรองฝุ่น ผ้าปิดปาก ถุงมือยาง รองเท้าบูท ไฟฉาย ไม้ยาว เกรียง พลั่ว ไม้ปาดน้ำ ขั้นตอนการเตรียมพร้อมก่อนเริ่มทำความสะอาด จับคู่ช่วยกันทำความสะอาด เพื่อการช่วยเหลือหากเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากสัตว์มีพิษ เดินสำรวจพื้นที่รอบๆ ก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อประมาณระยะเวลา อุปกรณ์ เปิดประตู หน้าต่างระบายอากาศ สังเกตุความผิดปกติ เช่น รอยร้าว โพรง รอยรั่ว การไหลของน้ำจากการทำความสะอาด สวิทช์ไฟ คราบเชื้อรา วางแผนเคลื่อนย้ายสิ่งของเพื่อความสะดวกในการทำงาน สิ่งของต่างๆ ที่ต้องจัดการหลังน้ำลด ระบบไฟฟ้า ก่อนเข้าบริเวณบ้าน ต้องแน่ใจว่าได้ตัดไฟส่วนของชั้นล่างทั้งหมดออกแล้ว เนื่องจากไม่อาจทราบได้ว่า จะมีไฟรั่วบริเวณใดบ้าง หากยังมิได้ตัดไฟ หรือไม่แน่ใจ… (read more)

เคมีสีเขียว (Green Chemistry)
ตอนที่ 2: พลังงานไมโครเวฟกับการเลือกใช้ตัวทำละลายสีเขียว
(Microwave Energy and Green Solvent Selection)

ดร. นพพร ทัศนา ห้องปฏิบัติการเภสัชเคมี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI) และโครงการบัณฑิตศึกษาสาขาเคมีชีวภาพ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) การพัฒนากระบวนการสังเคราะห์สารเคมีโดย “เคมีสีเขียว” [1,3] เป็นวิธีการที่กำลังเป็นที่ศึกษาอย่างมากในต่างประเทศ เพื่อลดขั้นตอนในการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ในห้องปฏิบัติการ และสอดคล้องกับหลักการ “เคมีสีเขียว” ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว [3] ตามกฎข้อที่ 3 การออกแบบกระบวนการสังเคราะห์ที่ไม่เป็นอันตราย (Design less hazardous chemical syntheses) และกฎข้อที่ 8 ใช้ตัวทำละลายและกระบวนการที่ปลอดภัย (Use safer solvents and reaction conditions) ตัวทำละลายที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใช้ในปฏิกิริยาทางเคมีมีหลายชนิดได้แก่ น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์เหลว (supercritical CO2) และ ตัวทำละลายมีประจุ (ionic liquids) ในขณะที่ตัวทำละลายอินทรีย์ส่วนมากไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การห้ามใช้ตัวทำละลายอินทรีย์เป็นสิ่งที่มีความยุ่งยากในห้องปฏิบัติการทางเคมี การเลือกใช้ตัวทำละลายสีเขียวในปฏิกิริยาเคมีจึงเริ่มถูกพิจารณามากขึ้น ในกระบวนการผลิตของห้องห้องปฏิบัติการเภสัชเคมีและบริษัทผู้ผลิตยา เช่น Pfizer [4] บนพื้นฐานของ Environmental Health… (read more)