Posts filed under Activity

CGI Open House 2023 โดยสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ กำหนดจัดกิจกรรมงานแนะนำหลักสูตร CGI OPEN HOUSE 2023 ในวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 จึงขอเชิญชวน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน อาทิ เช่น เปิดให้ชมห้องปฏิบัติการอันทันสมัย ชมนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษา สมัครสอบคัดเลือก เพื่อรับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้รับทุนการศึกษา ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการเดินทางเข้าร่วมงาน ณ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ สามารถติดตามกิจกรรมได้ในรูปแบบ Online รวมทั้งผู้สมัครสอบ สามารถขอสอบสัมภาษณ์ผ่านระบบ Video Conference ได้ ผู้สนใจ สามารถเข้าชมรายละเอียดได้ที่ https://www.cgi.ac.th/openhouse2023/

การประชุมวิชาการประจำปี 2565 (8 ตุลาคม 2565) เรื่อง บทบาทและความท้าทายของอนามัยสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาประเทศ

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download in pdf format) เอกสาร Proceedings (download in pdf format) ————————– กล่าวรายงานการประชุมโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา พิธีเปิดและการปาฐกถาพิเศษเรื่อง บทบาทของศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาประเทศศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไลปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การอภิปราย เรื่อง อนาคตของศูนย์ความเป็นเลิศในการขับเคลื่อนประเทศและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้ดำเนินการอภิปราย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร…. (read more)

รายงานผลการศึกษาเรื่อง Air Quality Assessments for Health and Environment Policies in Thailand

[Download รายงานฉบับเต็ม]   ในปี พ.ศ. 2560 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme  หรือ UNEP) ได้จัดทำโครงการการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษอากาศในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งได้คัดเลือกการศึกษาใน 3 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐมองโกเลีย และประเทศไทย สำหรับประเทศไทย ด้วยผลงานวิจัยด้านมลพิษอากาศเป็นที่ประจักษ์ในศักยภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการ  ในปี พ.ศ. 2560  UNEP ได้คัดเลือกให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (EHT) โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันหลัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการ “การประเมินคุณภาพอากาศเพื่อนโยบายด้านสุขภาพอนามัยและด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Air Quality Assessments for Health and Environment Policies in Thailand)” เพื่อประเมินสถานการณ์และข้อมูลทางวิชาการประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่อง การจัดการคุณภาพอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานจัดทำ และปรับปรุงมาตรการและมาตรฐานด้านการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย… (read more)

Special Session ของการประชุมวิชาการประจำปี 2564 (28 ตุลาคม 2564)
เรื่อง บทบาทและความท้าทายของอนามัยสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาประเทศ

วันพฤหัสที่ 28 ตุลาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม ZOOM กำหนดการ (download in pdf format) ตามที่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา มีกำหนดจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2564 เรื่อง บทบาทและความท้าทายของอนามัยสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาประเทศ (The Role and Challenges of Environmental Health in National Development) ในวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2564 ณ ห้อง Convention ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร ความทราบแล้วนั้น เนื่องจาก ในขณะนี้ประเทศไทยและทั่วโลกยังคงมีสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของคนจำนวนมากเป็นการสร้างความเสี่ยงและโอกาสให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ง่ายยิ่งขึ้น ศูนย์ฯ คำนึงถึงผลกระทบของการจัดงานที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยและสุขภาพของ วิทยากร คณาจารย์ นักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงานทุกท่าน จึงไม่สามารถจัดการประชุมในรูปแบบปกติได้ ในการนี้ คณะกรรมการพิจารณาผลงานวิจัย… (read more)

การรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร
ที่มีปริมาณสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน มีพิษต่อตับหรือไม่?

ดร.ทวิช สุริโย, ดร.ภญ.ผาณิต ทรงวุฒิ, รศ.ดร.ภญ.ดวงจิตต์ พนมวัน ณ อยุธยา, ดร.ภรณี ปูรณโชติ, ดร.ภญ.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา และ รศ.ดร.ภญ.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อความกังวลต่อสุขภาพของประชาชนไทยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งการแพร่ระบาดนี้ มีแนวโน้มที่จะขยายวงกว้างและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยากที่จะควบคุมได้ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแนวคิดที่จะนำฟ้าทะลายโจรอันเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน มาใช้ประโยชน์ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการใช้ฟ้าทะลายโจร หรือสารสกัดฟ้าทะลายโจร ยังคงเป็นประเด็นในสื่อสังคมและสื่อออนไลน์อย่างมากมาย ทั้งในแง่ความปลอดภัย และขนาดการใช้ หรือความเหมาะสมที่จะใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการป้องกัน หรือบรรเทาอาการ ร่วมกับการได้รับการรักษาในแนวทางอื่นๆ ที่มีอยู่ในขณะนี้ทั้งนี้เมื่อพิจารณาการใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจร ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ซึ่งมีคำแนะนำในการรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร ที่มีสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ในขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน (แบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง) ติดต่อกัน 5 วัน โดยมุ่งหวังให้ใช้ในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย… (read more)