Posts filed under announcement

ฟ้าทะลายโจร: รักษาโรคโควิด-19 ได้อย่างไร?

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, ดร.ทวิช สุริโย, นันทนิจ ผลพนา, และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา การพบคนไทยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศ โรคติดเชื้อโควิด-19 ได้กลับมาสร้างความวิตกกังวลให้คนไทยทั้งประเทศอีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ เมื่อมีการพบผู้ป่วยคนไทยติดเชื้อโควิด-19 ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นคนไทยที่กลับมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้เกิดการคาดคะเนว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การระบาดรอบที่สองของเชื้อโควิด-19 เหมือนประเทศอื่นๆ หรือไม่ความหวังของการป้องกันการระบาดของไวรัสชนิดนี้ก็คือ การใช้วัคซีนป้องกันโรค ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการแข่งขันในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในหลายประเทศ และภายในเดือนธันวาคมนี้ ได้มีการอนุมัติและได้เริ่มฉีดวัคซีนที่ใช้เวลาในการคิดค้นและทดสอบในระยะเวลาอันรวดเร็วในประเทศรัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น มีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ใช้ได้ประมาณกลางปี 2564 และหากว่าประเทศไทยมีการระบาดรอบที่สองจริง ผู้ป่วยจะมียารักษาโรคโควิด-19 หรือไม่? ยารักษาโรคโควิด-19 ชนิดรุนแรง คือ Remdesivir ของบริษัท Gilead Sciences มีราคาแพง แม้จะซื้อในราคามิตรภาพที่ประมาณ 2,340 ดอลล่าสหรัฐ หรือ 70,200… (read more)

ฟ้าทะลายโจร: การนำไปใช้และข้อควรระวัง

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา, ทวิช สุริโย และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ถึงเวลานี้ คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักฟ้าทะลายโจร สมุนไพรที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคหวัดและท้องเสีย ชื่อนี้เป็นข่าวใหญ่ในประเทศไทยขึ้นมา เมื่อมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก และฟ้าทะลายโจรได้ถูกนำมาใช้ในการทดสอบกับไวรัส COVID-19 แต่ยังเป็นเพียงผลการทดลองในหลอดทดลองเท่านั้น ส่วนการทดลองในการนำไปใช้ในผู้ป่วยติดเชื้อนี้นั้นยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่ก็มีการพูดถึงการนำฟ้าทะลายโจรไปใช้ทั้งในการป้องกันและรักษาอย่างมากมาย มีทั้งข่าวจริงและข่าวไม่จริงบ้าง และก็ทำให้คนแห่ซื้อผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรเป็นอย่างมาก จนเกิดการขาดแคลนหรือมีราคาสูงขึ้น ในฐานะทีมวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรมาเป็นเวลานาน โดยเริ่มการศึกษาตั้งแต่การปลูกต้นฟ้าทะลายโจร การตรวจวิเคราะห์สารสำคัญทางเคมีในพืชระยะต่างๆ การพัฒนาวิธีการแยกสารบริสุทธิ์และเตรียมสารสกัดมาตรฐานของฟ้าทะลายโจรที่มีสารสำคัญตามที่ต้องการ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดมาตรฐาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฟ้าทะลายโจร รวมทั้งการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของการรับประทานผงฟ้าทะลายโจรแคปซูลในอาสาสมัครสุขภาพดี เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารสำคัญที่มีฤทธ์ในทางยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงอยากจะมาแชร์ข้อมูลงานวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำฟ้าทะลายโจรไปใช้ในทางยา รวมทั้งข้อพึงระวังจากการใช้ยา โดยเฉพาะการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อจะได้มีการนำไปใช้อย่างระมัดระวังและทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รูปที่ 1. ต้นฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจร (รูปที่ 1) เป็นไม้ล้มลุก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis paniculata… (read more)

การประชุมวิชาการประจำปี 2562 (2 พฤศจิกายน 2562)
เรื่อง กลยุทธ์สู่นวัตกรรมทางอนามัยสิ่งแวดล้อม

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download in pdf format) กล่าวรายงานการประชุมโดย ศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา  กล่าวเปิดการประชุมโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัยเด่นของสมาชิกศูนย์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประหยัด โภคฐิติยุกต์  ผู้แทน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. มยุรี เฟื่องทอง  อาจารย์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์/สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ รองศาสตราจารย์ ดร. อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์   อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุพพัต ควรพงษากุล  อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. สสิธร เทพตระการพร  คณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์… (read more)

ทำไมถึงต้องเป็น….ห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025?

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว, นันทนิจ ผลพนา และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา/แผนกปฏิบัติการวิเคราะห์ หน่วยวิจัยและวิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา วันนี้อยากจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025 และทำไมเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีห้องปฏิบัติการทดสอบในการทำวิจัยหรือเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ หลายๆคนคงสงสัยว่า มาตรฐาน ISO/IEC 17025 คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานสากลที่ร่วมกันระหว่าง International Organization for Standardization กับ International Electrotechnical Commission เพื่อกำหนดข้อกำหนดทั่วไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน (General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories) ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานสากลที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของการทดสอบ หรือการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ มีความสำคัญอย่างยิ่งกับภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ส่งออกสินค้า ที่มีความจำเป็นต้องใช้ผลการทดสอบ/สอบเทียบ ที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และเชื่อถือได้… (read more)

ข้อมูลด้านพิษวิทยาของ Chlorpyrifos ในช่วงทศวรรษนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา 1. Chlorpyrifos และผลกระทบต่อระบบประสาทของเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มที่เปราะบางเพราะมีน้ำหนักตัวน้อย พัฒนาการของระบบต่างๆในร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมจึงมีผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ US EPA ได้ประกาศให้มีการค่อยๆเลิกใช้ Chlorpyrifos ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยตั้งต้นแต่ปี ค.ศ.2000-2001 และได้มีการศึกษาผลกระทบของมาตรการดังกล่าวในปี ค.ศ. 2003-2005 ในการรวบรวมข้อมูลจาก 50 ครัวเรือนซึ่งมีเด็กอายุ 3 ขวบ พบว่ามาตรการของ US EPA ได้ผล ทำให้เด็กได้รับสารกำจัดแมลงน้อยลง (Wilson et al., 2010) ในปี ค.ศ.2012 Rauh และคณะได้รายงานผลการวิจัยในวารสาร PNAS ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำของสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาเด็ก 40 คน อายุระหว่าง 5.9-11.2 ปี ซึ่งมารดาได้รับสาร Chlorpyrifos ระหว่างตั้งครรภ์ โดยการตรวจวัดสารนี้ในเลือดจากรกมารดา… (read more)