Wilavan Keoma

All posts by Wilavan Keoma

กลไกระดับเซลล์ในการลดพิษจากโลหะ

ดร. เมธา มีแต้ม ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สังคมมนุษย์ในปัจจุบันได้นำโลหะชนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก บ้างนำมาเป็นวัสดุ บ้างนำมาเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คุณทราบหรือไม่ว่าแร่ธาตุโลหะหลายชนิดก็มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตเช่นกัน? ในทางชีววิทยาเราอาจแบ่งกลุ่มของโลหะออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของสิ่งมีชีวิต เช่น ธาตุเหล็ก ทองแดง และสังกะสี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและเอนไซม์หลายประเภท สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องบริโภคโลหะเหล่านี้ในสัดส่วนที่เพียงพอต่อร่างกาย ส่วนโลหะกลุ่มที่สอง เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และสารหนู นั้นไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต แต่มักเข้าสู่สิ่งมีชีวิตพร้อมกับโลหะที่จำเป็นอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งแวดล้อมมีระดับการปนเปื้อนของโลหะเหล่านี้สูง โลหะทั้งสองกลุ่มอาจก่อให้เกิดพิษต่อสิ่งมีชีวิตได้หากสะสมในปริมาณมาก ความเป็นพิษของโลหะ1มักเกิดจากการที่โลหะไปยับยั้งการทำงานของโปรตีนและเอ็นไซม์สำคัญต่างๆ หรือไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้จะมีฤทธิ์ทำลายสารอินทรีย์ที่เป็นโครงสร้างสำคัญของเซลล์ เช่น DNA หรือเยื่อหุ้มเซลล์ ความผิดปกติในสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากพิษของสารโลหะอาจมีลักษณะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิต ความเข้มข้น และประเภทของโลหะ ตัวอย่างเช่น พิษของแคดเมียมในมนุษย์ทำให้เกิดลักษณะวงสีเหลืองที่โคนของซี่ฟัน อาการปวดกระดูก สูญเสียประสาทการดมกลิ่น ไตวาย และโลหิตจาง เป็นต้น (Godt et al. 2006) ในปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังไม่ประสบปัญหามลพิษจากโลหะ แต่ในบางพื้นที่ปัญหานี้อาจจัดอยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังถึงระดับวิกฤตได้ ตัวอย่างเช่น ในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล ปี… (read more)

งากับการป้องกันภาวะวัยทองและต้านมะเร็งเต้านม

ดร.อภิญญา เทียนธนะวัฒน์ ดร.นุชนาถ รังคดิลก และ รศ. ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เมล็ดงา ประกอบด้วย น้ำมันประมาณ 40-59% โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินอี และสารประกอบกลุ่มลิกแนน เช่น เซซามิน และเซซาโมลิน ในระหว่างกระบวนการทำน้ำมันงาและการนำเมล็ดงาไปคั่ว สารเซซาโมลิน จะเปลี่ยนเป็นเซซามอล ส่วนสารเซซามินสามารถถูกเปลี่ยนโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปเป็นสาร 2 ชนิด คือ เอ็นเทอโรไดออลล์ และเอ็นเทอโรแล็กโตน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีรายงานว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายโดยควบคุมระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือดและหัวใจ พบว่า เอสโตรเจนสามารถกระตุ้น และส่งเสริมการเกิดมะเร็งเต้านมชนิดที่เซลมะเร็งมีตัวรับเอสโตรเจนชนิดอัลฟ่า ซึ่งมะเร็งชนิดดังกล่าว สามารถรักษาได้ด้วยยาในกลุ่มที่ต้านฤทธิ์ หรือยับยั้งการผลิตเอสโตรเจน ในสตรีวัยทอง การสร้างเอสโตรเจนลดน้อยลง ก่อให้เกิดกลุ่มภาวะโรควัยทอง ที่สำคัญคือภาวะกระดูกพรุน ซึ่งการรักษาโดยเสริมปริมาณเอสโตรเจนสามารถป้องกัน และลดกลุ่มอาการวัยทองได้ พืชหลายชนิดมีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนเรียกเป็นกลุ่มใหญ่ว่า… (read more)

หมอกควันภาคเหนือ : ปัญหาที่ยังรอการแก้ไข

รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล รายะนาคร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาพปัญหามลพิษและหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย ได้เป็นข่าวไปทั่วโลกในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อมีหมอกควันปกคลุมในหลายพื้นที่ ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และในวันที่มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ ในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอนหรือพีเอ็ม 10 (PM10) ที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ได้ถึง 383 ไมโครกรัมต่อปริมาตรอากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ ของประเทศไทยที่กำหนดไว้ ที่ค่าเฉลี่ยในช่วง 24 ชั่วโมง ไว้ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไปกว่า 3 เท่าตัว นับเป็นสถิติสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่ได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างเป็นทางการ เฉพาะในช่วงวันที่ 15–23 มีนาคม 2550 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับรายงานจำนวนประชาชนในภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน ที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากภาวะหมอกควันในช่วงนั้นถึงเกือบหกหมื่นคน แม้ว่า จังหวัดเชียงใหม่… (read more)

สาหร่าย…อาหารที่ปลอดภัยจริงหรือ?

ดร. นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ.ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สาหร่าย กำลังเป็นอาหารว่างที่นิยมบริโภคอย่างมากในคนหลายวัย มีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ส่วนใหญ่บริโภคเป็นของกินเล่น สาหร่ายพบมีอยู่ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำพุร้อน แต่สาหร่ายที่นำมาเป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายทะเล และสาหร่ายน้ำจืด สาหร่ายเป็นแหล่งของโปรตีนคล้ายเนื้อสัตว์ ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนเป็นชาติแรกๆ ที่เห็นคุณค่าของสาหร่าย อาหารญี่ปุ่น มีเมนูอาหารที่ใช้สาหร่ายเป็นส่วนผสมมาก ส่วนอาหารจีนก็เช่นเดียวกัน คนจีนเรียกสาหร่ายทะเลว่า “จีฉ่าย” เรามักจะนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงจืดใส่กับเต้าหู้หมูสับ เป็นรายการอาหารที่นิยมของทั้งชาวจีนและไทย นอกจากนี้ เราจะเห็นสาหร่ายทะเลอีกรูปแบบหนึ่งที่ตัดเป็นแผ่นบางๆ สี่เหลี่ยมจัตุรัสบ้าง ผืนผ้าบ้าง บรรจุซองพลาสติก ซองละ 4-5 แผ่น ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายขนม เด็กๆ จะชอบซื้อรับประทาน เป็นสาหร่ายรสชาติอร่อย เพราะมีการปรุงแต่งรสชาติด้วย น้ำตาล พริกไทย หรือเครื่องปรุงรสต่างๆ สาหร่ายเหล่านี้จะเป็นสายพันธุ์ Porphyra… (read more)

การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(Strategic Environmental Assessment)

ผศ. ดร.เรวดี โรจนกนันท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และถูกใช้อย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ มิได้มีแต่เพียงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) กำลังถูกนำมาใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเป้าหมายให้เกิดความยั่งยืนในทางสิ่งแวดล้อมตามที่ปรากฎในเป้าหมายในการพัฒนาแห่งศตวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) โดยให้มีการรวมหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าอยู่ในนโยบายและแผนระดับประเทศ (OECD 2006) สำหรับแนวคิดของ SEA ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยได้มีการนำแนวคิดของ SEA เข้าสู่กระบวนการตัดสินใจโดยมีปรากฏใน National Environmental Policy Act (NEPA) (Mitsubishi Research Institute 2003) หลังจากนั้นเมื่อประเทศต่างๆ เช่น ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส ได้เห็นความสำคัญ จึงเริ่มนำแนวความคิดของ SEA มาประยุกต์ใช้ แต่จุดสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นที่ยอมรับของ… (read more)