Wandee Sirapat

All posts by Wandee Sirapat

Investigation of effects of abnormal electrolyte condition and heavy metal exposure on stability and function of therapeutic recombinant human erythropoietin (rHuEPO) in vitro

Siraprapha Sanchatjate1, Sumontha Nookabkeaw2 and Jutamaad Satayavivad2 1Translational Research Unit and 2Pharmacology Laboratory, Chulabhorn Research Institute Recombinant human erythropoietin (rHuEPO) has been widely used for treatment of anemia associated with chronic renal failure. Cases of anti-rHuEPO-associated pure red cell aplasia (PRCA) have been found in patients undergone rHuEPO treatment. Patients become resistant to administered rHuEPO… (read more)

ปริมาณของสารหนูในข้าว

ดร. นุชนาถ รังคดิลก และ รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2555 ที่ผ่านมานี้ ได้มีโอกาสไปเดินดูงาน “เกษตรมหัศจรรย์ ครั้งที่ 3” จัดโดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและเส้นทางเศรษฐีในเครือมติชน ซึ่งจัดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค ในปีนี้ได้จัดงานภายใต้แนวคิดหลัก “ข้าวของพ่อ วิถีพอเพียง” ซึ่งมีการนำพันธุ์ข้าวและพืชหายากต่างๆมาแสดงและจำหน่ายให้ประชาชนที่สนใจจำนวนมาก พันธุ์ข้าวที่นำมาแสดงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ข้าวสินเหล็ก ข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวลืมผัว เป็นต้น ข้าวเหล่านี้เป็นข้าวที่มีสีม่วงเข้ม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและธาตุอาหารสูงกว่าข้าวขาวธรรมดา จากข้อมูลที่ได้ในงาน พบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวได้เป็นอันดับ 6 ของโลก แต่สามารถส่งออกขายเป็นอันดับ 1 ของโลก ข้าวที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลกและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ก็คือ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 200,000 ล้านบาท แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้าวไทยที่ส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆเป็นข้าวที่ได้มาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย เมื่อเร็วๆนี้ได้มีบทความในหนังสือพิมพ์หลายฉบับพูดถึงการวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนของสารหนูในข้าวไทย โดยเฉพาะวิธีการตรวจวิเคราะห์สารหนูที่ได้มาตรฐานและการกำหนดค่าของสารหนูอนินทรีย์ซึ่งมีความเป็นพิษมากกว่าสารหนูทั้งหมด สารหนูอนินทรีย์ (Inorganic… (read more)

ความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเช้า

ดร.นุชนาถ รังคดิลก สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ. ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์่ ถ้าถามว่า คนไทย นิยมรับประทานอะไรเป็นอาหารเช้า ส่วนใหญ่จะได้รับคำตอบว่า ข้าวไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้าวแกง ข้าวต้ม หรือแม้แต่โจ๊ก ถ้าง่ายๆหน่อยสำหรับเด็กไปโรงเรียน ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ธัญพืชอบกรอบ (cereals) หรือผลิตภัณฑ์ข้าวโพดอบกรอบ cornflakes ใส่นม ซึ่งสะดวกและรวดเร็วสำหรับการเร่งรีบในตอนเช้า ดังนั้นข้าวและเมล็ดธัญพืชต่างๆจึงเป็นอาหารหลักของคนไทย หรือแม้แต่คนเอเชียทั่วไป ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีข้าวเป็นผลิตผลหลักทางการเกษตร ข้าวที่ผลิตขึ้นได้ใช้เพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก ในข้าวและเมล็ดธัญพืชจะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง เป็นต้น รวมถึงอาจมีการปนเปื้อนของโลหะหนักบางชนิดจากการเพาะปลูกได้ เช่น แคดเมียม ตะกั่ว และสารหนู เป็นต้น โลหะหนักเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะปนเปื้อนอยู่ในดิน น้ำโดยเฉพาะน้ำบาดาล หรือปุ๋ยที่นำมาใช้ในการเพาะปลูก ถ้ามีการสะสมของปริมาณโลหะหนักที่เป็นพิษเหล่านี้สูงในอาหารโดยเฉพาะข้าวที่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรต่างประเทศกำหนดไว้ ก็จะทำให้เกิดปัญหาคุณภาพข้าวไทยไม่ได้มาตรฐาน และยังส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคได้รับสารเหล่านี้ไปเข้าสู่ร่างกายมากเช่นกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและโลหะหนักในข้าวไทยรวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีข้าวเป็นส่วนผสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็ก และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นการประกันคุณภาพที่ดีของข้าวไทยเพื่อการส่งออก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และพิษวิทยา (Center… (read more)

ล้างโรงเรือนอย่างไร ให้ปลอดภัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การทำความสะอาดหลังน้ำลดมักเป็นการทำความสะอาดคราบสกปรก ตะไคร่น้ำ และการกำจัดเชื้อโรค เชื้อราที่เราอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การป้องกันตนเองของผู้ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันตนเองเบื้องต้นที่ควรจัดเตรียม ได้แก่ แว่นตาป้องกัน หน้ากากกรองฝุ่น ผ้าปิดปาก ถุงมือยาง รองเท้าบูท ไฟฉาย ไม้ยาว เกรียง พลั่ว ไม้ปาดน้ำ ขั้นตอนการเตรียมพร้อมก่อนเริ่มทำความสะอาด จับคู่ช่วยกันทำความสะอาด เพื่อการช่วยเหลือหากเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากสัตว์มีพิษ เดินสำรวจพื้นที่รอบๆ ก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อประมาณระยะเวลา อุปกรณ์ เปิดประตู หน้าต่างระบายอากาศ สังเกตุความผิดปกติ เช่น รอยร้าว โพรง รอยรั่ว การไหลของน้ำจากการทำความสะอาด สวิทช์ไฟ คราบเชื้อรา วางแผนเคลื่อนย้ายสิ่งของเพื่อความสะดวกในการทำงาน สิ่งของต่างๆ ที่ต้องจัดการหลังน้ำลด ระบบไฟฟ้า ก่อนเข้าบริเวณบ้าน ต้องแน่ใจว่าได้ตัดไฟส่วนของชั้นล่างทั้งหมดออกแล้ว เนื่องจากไม่อาจทราบได้ว่า จะมีไฟรั่วบริเวณใดบ้าง หากยังมิได้ตัดไฟ หรือไม่แน่ใจ… (read more)

การผลิตแอลกอฮอล์และการกำจัดสีจากน้ำเสียของอุตสาหรรมผลิตน้ำมันปาล์ม

รองศาสตราจารย์ ดร. ประยูร ฟองสถิตย์กุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตแอลกอฮอล์จากน้ำเสียของอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์มดิบ โดยการใช้เชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Solventogenic clostridia ซึ่งนำมายึดเกาะกับตัวกลาง 2 ลักษณะ คือวิธีการ Entrapment และ Attachment ที่ระยะเวลาการเก็บกักที่ 6, 12 และ 24 ชั่วโมง ในทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมของ อัตราส่วนของสารละลาย Fenton เพื่อใช้ในการปรับลักษณะสมบัติของน้ำเสีย เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดสูงสุด เหมาะสมต่อการนำไปผลิตแอลกอฮอล์ โดยการเปรียบเทียบ อัตราส่วนระหว่าง COD:H2O2 และ H2O2 :Fe2+ ที่ COD:H2O2 เท่ากับ 50, 70, 100 และ130 และที่ H2O2 :Fe2+ เท่ากับ 5 10, 20 และ30 ตามลำดับ ผลของการศึกษาพบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารละลาย Fenton ที่ อัตราส่วนระหว่าง… (read more)