การจัดการของเสียและลดอันตรายจากสารเคมีประเภทปิโตรเลียมในบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง

รองศาสตราจารย์ ดร. ประหยัด โภคฐิติยุกต์
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากการศึกษาปริมาณการปนเปื้อนและการกระจายของสารปิโตรเลียมกลุ่มสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds หรือ VOCs) ที่เกิดจากระบบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในพื้นที่รอบนิคมฯ ทั้งหมด 10 พื้นที่ โดยการเก็บตัวอย่างดินที่ระดับผิวดิน (0-10 ซม.) และระดับใต้ผิวดิน (ลึกกว่า 20 ซม.) ทุก 3 เดือน สกัดด้วยวิธี solid – liquid extraction และวิเคราะห์ผลด้วย Gas Chromatography equipped with mass spectrometer (GC-MS) พบว่าสารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด ได้แก่ Benzene, Ethylbenzene, Methyl-tert-butylether, Toluene, 1,2,4-Trimethylbenzene, 1,3,5-Trimethylbenzeneม, o-Xylene, m-Xylene, p-Xylene, Naphthalene และ 1,3-Butadiene มีค่าความปนเปื้อนในดินต่ำกว่า 0.5 ppm (>5 mg/kg soil) แต่ทั้งนี้พบสารกลุ่ม organic acid, ketone, aldehyde และ ester ในตัวอย่าง โดยเฉพาะตัวอย่างดินที่ระดับผิวดิน หรือ 0-10 cm ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าเกิดจาก biodegradation process ของสารปิโตรเลียมกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยในตัวอย่างดินที่เก็บจากพื้นที่รอบนิคมฯ แล้วตสมธรรมชาติ

จากการศึกษากลุ่มประชากรแบคทีเรียที่อยู่ในดินตัวอย่างข้างต้น โดยการเพาะเลี้ยงและจำแนกในห้องปฏิบัติการ พบแบคทีเรียที่มีความโดดเด่นในแง่จำนวนประชากร และสามารถเจริญเติบโตได้ในห้องปฏิบัติการทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ MCS3, MC2, TS1, TS2, WSS2, WSS3, RPS1, RP1, ILS2, ILS3, ILS4, IL2 และ IL3 และเมื่อทำการศึกษาย่อยสลายสารปิโตรเลียมที่ปนเปื้อนในดินของ จุลินทรีย์แต่ละสายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ 1% Tapis crude oil เป็นสารปนเปื้อน ที่ความเข้มข้น 1,000 mg TPHs/ Kg soil เพื่อศึกษาความสามารถ ในการใช้สารเคมีกลุ่มปิโตรเลียมของจุลินทรีย์ ที่อุณหภูมิ 30 °C เป็นเวลา 7 วัน และวิเคราะห์ปริมาณสารปิโตรเลียมในรูปของ TPHs (Total Petroleum Hydrocarbons) ที่หลงเหลือในดินหลังจากทดลอง โดยการสกัด TPHs จากดินด้วยวิธี solid-liquid extraction method โดย ultrasonic extraction ้วยตัวทำละลาย acetone:hexane (1:1 v/v) และ hexane ก่อนวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนด้วย Gas Chromatography equipped with flame ionization detector (GC-FID) พบว่าปริมาณสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่เหลืออยู่ในดิน (Residual TPHs) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่เป็นดินปนเปื้อนที่ไม่มีแบคทีเรีย (abiotic control) ซึ่งแสดงปริมาณสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในดินอยู่สูงถึง 929.200 ± 29.693 mg TPHs/ Kg soil คิดเป็น 7.08 % ของอัตราการย่อยสลาย และพบว่าในดินปนเปื้อนที่มีแบคทีเรียสายพันธุ์ IL3 มีปริมาณสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนเหลืออยู่เพียง 281.502 ± 14.757 mg TPHs/ Kg soil หรือคิดเป็น 71.85 % ของอัตราการย่อยสลาย และพบว่าในพื้นที่มีแบคทีเรียที่มีความสามารถในการในการย่อยสลายสารปนเปื้อนในดินได้มากกว่า 50% อีกหลายสายพันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำไปพัฒนา และปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

แหล่งข้อมูล:

  • โครงการวิจัยชื่อ “การจัดการของเสียและลดอันตรายจากสารเคมีประเภทปิโตรเลียมในบริเวณ มาบตาพุด จังหวัดระยอง” – ระยะเวลาโครงการ: ตุลาคม 2552-มิถุนายน 2555