Wandee Sirapat

All posts by Wandee Sirapat

การประชุมวิชาการประจำปี 2555

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน – วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download in pdf format)    เผยแพร่ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2555

สภาวะโลกร้อนและอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี

รองศาสตราจารย์ ดร.สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาผลของสภาวะโลกร้อนต่ออุบัติการณ์ของแบคทีเรียในหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 8 บริเวณ ได้แก่ ตลาดอ่างศิลา ท่าเรืออ่างศิลา หาดบางแสน หาดวอนนภา นาเกลือ พัทยาเหนือ พัทยาใต้และนาจอมเทียน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำทะเล บริเวณบางแสนและพัทยาทั้ง 8 บริเวณมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 25.00 ± 0.00 ถึง 34.90 ± 0.00 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิน้ำทะเล ณ บริเวณบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี ของกรมควบคุมมลพิษตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง 2554 ของทั้ง 8 บริเวณเทียบกับการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ณ ปัจจุบัน น้ำทะเลมีอุณหภูมิที่ต่ำลง แต่ในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนน้ำทะเลมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่วนเดือนสิงหาคมและตุลาคมมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทั้งที่เพิ่มขึ้นและลดลงของบริเวณเก็บตัวอย่างทั้ง 8 บริเวณ นั่นแสดงให้เห็นว่าเกิดความแปรปรวนของอุณหภูมิของน้ำทะเลทั้งในฤดูร้อนที่มีอากาศเย็นขึ้น… (read more)

เรื่องน่ารู้ของ..ผลิตภัณฑ์สาหร่าย..ที่ไม่ควรมองข้าม

ดร.นุชนาถ รังคดิลก* สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์* สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ *อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ สาหร่ายเป็นอาหารว่างที่นิยมบริโภคอย่างมากในคนหลายวัย ทั้งสาหร่ายที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี สาหร่ายที่นำมาเป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายทะเล และสาหร่ายน้ำจืด สาหร่ายทะเลที่นิยมบริโภคคือ ชนิดที่เป็นแผ่นบางๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบรรจุในซองพลาสติก ขายตามซุปเปอร์มาร์เกต เด็กๆจะชอบซื้อรับประทาน เป็นสาหร่ายชนิดอบแห้ง, ทอดกรอบ หรือย่าง มีการปรุงรสชาติต่างๆให้อร่อยถูกปาก ชาวจีนและญี่ปุ่นใช้สาหร่ายสีน้ำตาล (Laminaria) และสาหร่ายสีแดง (Porphyra) หรือที่นิยมเรียกว่า จีฉ่าย มาทำอาหารพวกแกงจืด ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่า สาหร่ายทะเลเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน และไอโอดีน รวมถึงมีใยอาหารสูงด้วย สำหรับสาหร่ายน้ำจืดนิยมนำมาอัดเม็ดบรรจุขวด มีราคาค่อนข้างแพง สารอาหารที่เด่นในสาหร่ายน้ำจืด คือ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน แต่สาหร่ายน้ำจืดจะไม่เป็นแหล่งของไอโอดีน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายควรเลือกพื้นที่การเลี้ยงที่มีน้ำทะเลที่สะอาด ห่างไกลจากแหล่งปนเปื้อน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือแหล่งชุมชน… (read more)

Identification of environmental toxicity of bioextract from municipal solid waste in using as soil conditioner: case study in Bangkok

Dr. Tawach Prechthai Faculty of Public Health, Mahidol University This laboratory study was to identify the environmental toxicity of bioextract from municipal solid waste to be used as soil conditioner. The animal part bio-extract, vegetable bio-extract and the animal part mixed vegetable bioextract sample were prepared from the waste collected from the market in Bangkok…. (read more)

Study on the stability of foodborne acrylamide contaminant under condition of in vitro digestion and bioremediation of acrylamide industrial wastewater

Assoc. Prof. Dr. Jittima Charoenpanich Faculty of Science, Burapha University Acrylamide, a neurotoxicant and suspected human carcinogen has been first discovered in foods by the Swedish researchers. Numerous paths of formation have been discussed, predominantly through a Maillard reaction and can be regarded as the most important heat-induced contaminants occurring in starchy foods. In addition,… (read more)