Posts filed under โครงการวิจัย

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการกระจายของพืชและการเก็บกักคาร์บอนในภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ต่อ 1) ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในป่าผลัดใบ และป่าไม่ผลัดใบบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และ พื้นที่รอยต่อระหว่างป่าดังกล่าว พบว่าป่าเต็งรังพบพรรณไม้ทั้งหมด 100 ชนิด ใน 71 สกุล 44 วงศ์ พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยามากที่สุด คือ พลวง สำหรับดัชนีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ในป่าเต็งรังมีค่า 4.19 มวลชีวภาพทั้งหมดในป่าเต็งรังมีปริมาณ 112.88 ตันต่อเฮกแตร์ และมีการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพ 55.76 ตันต่อเฮกแตร์ ป่าดิบเขาพบพรรณไม้ทั้งหมด 188 ชนิด ใน 124 สกุล 57 วงศ์ และพรรณไม้ที่ไม่สามารถจำแนกได้ 23 ชนิด พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยามากที่สุด คือ ก่อหมาก สำหรับดัชนีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ในป่าดิบเขามีค่า 5.75 มวลชีวภาพในป่าดิบเขามีปริมาณ 291.82 ตันต่อเฮกแตร์ และมีการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพ 144.22 ตันต่อเฮกแตร์ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีปริมาณคาร์บอนสะสมในมวลชีวภาพของป่าผลัดใบประมาณ 1,161,427… (read more)

การวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในอาหารและน้ำดื่ม
จากเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชาญ สว่างวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในตัวอย่างอาหารและน้ำดื่มจากพื้นที่มาบตาพุด สารอินทรีย์ระเหยง่าย 9 ชนิดได้แก่ เบนซิน ไวนิลคลอไรด์ 1,2-ไดคลอโรอีเทน ไดคลอโรมีเทน 1,2-ไดคลอโรโพรเพน เตตระคลอโรเอทธิลีน คลอโรฟอร์ม และ 1,3-บิวทาไดอีน ถูกแยกและตรวจวัดด้วยแก๊สโครมาโทกราฟีแมสสเปกโตรเมทรี ได้ศึกษาและเปรียบเทียบเทคนิคการสกัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย 2 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการสกัดด้วยวัฎภาคของแข็งระดับจุลภาคและเทคนิคเพิร์จแอนด์แทรบ พบว่าเทคนิคเพิร์จแอนด์แทรบให้ประสิทธิการสกัด และขีดจำกัดการตรวจวัดที่ดีกว่า ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมได้ขีดจำกัดการตรวจวัดของสารอินทรีย์ระเหยง่ายอยู่ในช่วง 0.12-1.94 ไมโครกรัมต่อลิตร ความเที่ยงของวิธีการวิเคราะห์ 8-20% และร้อยละการกลับคืน 95-140% นอกจากนี้ได้นำเทคนิคที่พัฒนานี้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในตัวอย่างผักและน้ำดี่มจากเขตมาบตาพุด พบสารอินทรีย์ระเหยง่าย 6 ชนิด ได้แก่ เบนซิน 1,2-ไดคลอโรอีเทน ไดคลอโรมีเทน 1,2-ไดคลอโรโพรเพน เตตระคลอโรเอทธิลีน และ คลอโรฟอร์ม ในตัวอย่างผัก แต่ไม่พบในตัวอย่างน้ำดื่ม อย่างไรก็ตามความเข้มข้นที่พบมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงวิถีการปนเปื้อน ของสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วย แหล่งข้อมูล: โครงการวิจัยชื่อ “การวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในอาหารและน้ำดื่มจากเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด” – ระยะเวลาโครงการ:… (read more)

Biodegradable Polymers: Thermoplastic Starch Reinforced with Recycled Paper Cellulose Fibers

Dr. Kathawut Pachana Faculty of Science, Burapha University Environmental concerns have resulted in a renewed interest in environmental-friendly plastics issues for sustainable development as biodegradable renewable resource. The main objective of this research was to prepare and investigate properties of the biodegradable composites based on thermoplastic starch (TPS) reinforced with recycled paper cellulose fibers. In… (read more)