Posts filed under โครงการวิจัย

Isolation of cadmium- and zinc-resistant bacteria and their application on bioremediation

Choowong Auesukaree and Thodsaphol Limcharoensuk Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand At present, mining operation is one of major causes of heavy metal pollution in environment. Biological approaches such as using microorganisms in metal biosorption are promising strategies for remediation of metal-contaminated soil and wastewater. In this study, cadmium- and… (read more)

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะต่างๆ ในอาหารสำหรับเด็กอ่อน และอาหารเสริมจากธรรมชาติอื่นๆในประเทศไทย

ดร. นุชนาถ รังคดิลก ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ สถาบันบันฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ เพื่อช่วยในการเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นสาเหตุให้มีการปนเปื้อนของโลหะหนักที่มาจากปุ๋ยและสารเคมีเหล่านี้เข้าไปในผลผลิตทางการเกษตรที่นำมาใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กได้รับปริมาณโลหะหนักเหล่านี้เข้าไปสะสมในร่างกายในปริมาณมากแล้ว ก็จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่เปลี่ยนไป และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก (Mg, Ca, Mn, Fe, Cu, Zn, V, Cr, Co, Ni, Se, Mo, Sr, Al, As, Cd, Hg, and Pb) ในอาหารชนิดต่างๆ จำนวน 667 ตัวอย่าง (ปี 2005-2008) ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง น้ำดื่ม ผักชนิดต่างๆ ข้าว กล้วย ไข่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (เนื้อ ตับ) โดยนำตัวอย่างเหล่านี้มาเติมกรดไนตริกบริสุทธิ์เข้มข้น 65% แล้วทำการย่อยด้วยเครื่องไมโครเวฟ และวิเคราะห์ปริมาณธาตุและโลหะหนักต่างๆด้วยเครื่อง Inductively… (read more)

การศึกษาโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษของโลหะหนักในปริมาณที่ตรวจพบใน
ตัวอย่างน้ำและอาหารจากเขตชุมชนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ สถาบันบันฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า จังหวัดระยองเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต ซึ่งประกอบไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยที่ผ่านมาได้มีการศึกษาสำรวจพบว่าสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมฯ มีการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่มีความเป็นพิษสูง เช่น แคดเมี่ยม อีกทั้งจากการศึกษาของเราก่อนหน้านี้ ยังพบการปนเปื้อนของโลหะหนักเหล่านี้ ในตัวอย่างน้ำและอาหารที่สุ่มเก็บจากตลาดในชุมชนบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมฯ สำหรับการศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษของโลหะหนักในปริมาณที่ตรวจพบในตัวอย่างน้ำและอาหารจากเขตชุมชนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมุ่งศึกษาไปที่โลหะ 3 ชนิด ได้แก่ สารหนู แคดเมี่ยมและแมงกานีส โดยปริมาณของโลหะทั้ง 3 ชนิดที่พบในน้ำดื่มและอาหารชนิดต่างๆ จะถูกนำมาคำนวณหาปริมาณที่คาดว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมฯ จะได้รับจากการรับประทานในแต่ละวัน ซึ่งค่าจากการคำนวณค่าเฉลี่ยของปริมาณที่ได้รับจากการรับประทานในแต่ละวันของ สารหนู แคดเมี่ยมและแมงกานีส คือ 0.645 0.076 และ 9.772 มิลลิกรัม ตามลำดับ หลังจากนั้น ได้นำค่าเฉลี่ยที่ได้นี้มาคำนวณหาความเข้มข้นของโลหะแต่ละชนิดเพื่อใช้ในการทดสอบความเป็นพิษในหลอดทดลอง (cytotoxicity test) โดยเลือกใช้เซลล์มะเร็งเต้านม (T47D) ปอด (A549) และเม็ดเลือดขาว (Jurkat) เป็นตัวแทน ซึ่งได้ค่าความเข้มข้น… (read more)

การศึกษาความเหมาะสมในการใช้ Bacteroides-infecting Bacteriophage
เป็นตัวบ่งชี้การปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลจากคนและมูลสัตว์ในแหล่งน้ำในประเทศไทย

ดร. ขวัญรวี สิริกาญจน สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในปัจจุบัน มาตรฐานทางชีววิทยาของคุณภาพน้ำสำหรับบ่งชี้การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในน้ำดื่ม น้ำประปา น้ำผิวดินและน้ำทะเลนั้น ใช้แบคทีเรียชี้แนะกลุ่มดั้งเดิม (Traditional Fecal Indicators) ซึ่งประกอบไปด้วยแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด แบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม E. coli และ Enterococci ซึ่งมีข้อจำกัดหลายๆด้าน เช่น การเพิ่มจำนวนในสิ่งแวดล้อมทำให้ค่าที่ได้ไม่เป็นดัชนีบ่งชี้ที่แท้จริงของการปนเปื้อน ทำให้มีความจำเป็นต้องศึกษาจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ เพื่อใช้เป็นจุลินทรีย์ชี้แนะตัวใหม่ หนึ่งในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีการศึกษา คือ bacteriophages of Bacteroides ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่เติบโตเพิ่มจำนวนในแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้อากาศ ในตระกูล Bacteroides โดยพบอาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่นๆ เช่น โคและสุกร เป็นต้น โครงการวิจัยนี้ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ bacteriophages of Bacteroides เพื่อเป็นตัวบ่งชี้การปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลจากคนและมูลสัตว์ในแหล่งน้ำในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยของโครงการ คือ1) ตรวจหาชนิดและปริมาณของ bacteriophages of Bacteroides จากแหล่งกำเนิดน้ำเสียจากคนและสัตว์ต่างๆ 2) ศึกษาและจำแนกชนิดของ bacteriophages of Bacteroides ที่มาจากสิ่งปฏิกูลจากคนและจากมูลสัตว์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบ่งบอกแหล่งที่มาของการปนเปื้อนจากคนหรือสัตว์… (read more)

ผลกระทบของความเครียดที่เกิดจากระดับความเค็มต่อการเจริญและเมแทบอลิซึม
ของสาหร่ายน้ำจืด Chlorella vulgaris

ดร. เมธา มีแต้ม ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกพืชที่สามารถผลิตอาหารด้วยตนเองผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สาหร่ายขนาดเล็กส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำประเภทต่างๆ และทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ขนาดเล็กในระบบนิเวศ นอกจากนี้มนุษย์ยังสามารถนำสาหร่ายขนาดเล็กบางชนิดมาเพาะเลี้ยงเพื่อประโยชน์ทางการค้า คลอเรลลา (Chlorella) เป็นสาหร่ายสายพันธุ์หนึ่งที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยง เพื่อผลิตเป็นอาหารและอาหารเสริมเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว คลอเรลลาเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว จัดอยู่ในกลุ่มของสาหร่ายสีเขียว (chlorophyte) เติบโตเร็ว พบได้บ่อยในแหล่งน้ำจืดและบางสายพันธุ์พบในน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม นอกจะมีปริมาณโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่สูงแล้ว คลอเรลลายังผลิตไขมันปริมาณมาก จึงเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความสนใจในปัจจุบันในการพัฒนามาเป็นแหล่งพลังงานชีวมวลหมุนเวียนสำหรับผลิตไบโอดีเซลด้วย ปริมาณและคุณภาพที่ลดลงของแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตรเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้น้ำจืดเป็นปริมาณมาก ความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายระดับอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไบโอดีเซลจึงอาจถูกกำจัดโดยปริมาณแหล่งน้ำจืด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทดสอบผลของระดับความเค็มของน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงต่อการเจริญและการผลิตไขมันของคลอเรลลา สายพันธุ์ Chlorella vulgaris ในการทดลอง C. vulgaris ถูกเลี้ยงในอาหารสูตร BG-11 เป็นเวลา 7 วัน ภายใต้สภาวะห้องปฏิบัติการที่ให้แสงสีขาว 5,000 lux ตลอดเวลา ให้อากาศปกติที่อัตราการไหล 1 ml อากาศต่อนาทีต่ออาหาร 1 ml และควบคุมอุณหภูมิที่ 25º… (read more)