Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.


การตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะต่างๆ ในอาหารสำหรับเด็กอ่อน และอาหารเสริมจากธรรมชาติอื่นๆในประเทศไทย

ดร. นุชนาถ รังคดิลก
ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ
สถาบันบันฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

ปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ เพื่อช่วยในการเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นสาเหตุให้มีการปนเปื้อนของโลหะหนักที่มาจากปุ๋ยและสารเคมีเหล่านี้เข้าไปในผลผลิตทางการเกษตรที่นำมาใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กได้รับปริมาณโลหะหนักเหล่านี้เข้าไปสะสมในร่างกายในปริมาณมากแล้ว ก็จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่เปลี่ยนไป และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก (Mg, Ca, Mn, Fe, Cu, Zn, V, Cr, Co, Ni, Se, Mo, Sr, Al, As, Cd, Hg, and Pb) ในอาหารชนิดต่างๆ จำนวน 667 ตัวอย่าง (ปี 2005-2008) ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง น้ำดื่ม ผักชนิดต่างๆ ข้าว กล้วย ไข่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (เนื้อ ตับ) โดยนำตัวอย่างเหล่านี้มาเติมกรดไนตริกบริสุทธิ์เข้มข้น 65% แล้วทำการย่อยด้วยเครื่องไมโครเวฟ และวิเคราะห์ปริมาณธาตุและโลหะหนักต่างๆด้วยเครื่อง Inductively coupled plasma mass spectrometer (ICP-MS)

ผลการวิจัย พบว่า ปริมาณโลหะหนักที่อันตราย เช่น As และ Cd ในอาหารชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานสูงสุดที่ให้มีได้อาหารนั้นๆ (Maximum Levels – ML) ซึ่งกำหนดโดย CODEX และ European Communities

ตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำกรองตามบ้าน พบว่า มีปริมาณโลหะหนักต่างๆอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่ม ยกเว้น น้ำดื่มบรรจุขวด 1 ยี่ห้อ ที่มีปริมาณ As เกินค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (>10 µg/L) แต่ยังน้อยกว่าค่ากำหนดสูงสุดของประเทศไทย (50 µg/L) ส่วนในข้าวและผักชนิดต่างๆ เช่น บล็อคโคลี่ ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตำลึง ผักกาดขาว ฟักทอง มันฝรั่ง พบว่า ปริมาณการปนเปื้อนของ As, Cd และ Pb อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่ามาตรฐานสูงสุดที่กำหนดไว้ จึงมีความปลอดภัยในการบริโภค นอกจากนี้ยังพบว่า ผักตำลึงซึ่งนิยมทำเป็นแกงจืดสำหรับเด็กมีปริมาณธาตุ Se สูงอีกด้วย และส่วนของใบผักคะน้ามีการสะสมของโลหะหนักสูงกว่าในส่วนของก้านคะน้า สำหรับปริมาณธาตุที่พบในข้าวโดยแบ่งเป็นข้าวกล้อง (non-polished rice) และข้าวขาว (polished rice) พบว่า ปริมาณของธาตุและโลหะหนักต่างๆ เช่น Mg, Ca, Mn, Fe, Se, As, และ Cd ในข้าวกล้องสูงกว่าข้าวขาว ในขณะที่ ปริมาณของ Cu, Cr, Ni, และ Pb ไม่แตกต่างกันในข้าวทั้ง 2 ชนิด แสดงว่า กระบวนการขัดสีของข้าวทำให้แร่ธาตุบางชนิดที่จำเป็นรวมถึงโลหะหนักที่เป็นอันตรายสูญหายไปได้ ซึ่งปริมาณของ Cd ที่พบในข้าวกล้องและข้าวขาวจากการศึกษาครั้งนี้ ยังคงมีปริมาณต่ำกว่าค่ากำหนดสูงสุดที่มีได้ในเมล็ดข้าว (100 µg/kg) จากผลการศึกษาในกล้วย ทั้งกล้วยไข่ กล้วยหอม และกล้วยน้ำว้า พบว่า กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่มีปริมาณธาตุ Se สูง ซึ่งสามารถช่วยต่อต้านความชราได้เป็นอย่างดี โดย Se จะทำงานร่วมกับวิตามินอี มีหน้าที่ช่วยรักษาเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆของร่างกายไม่ให้เสื่อมสภาพไปเร็วนัก ซึ่งมีผลที่ดีกับผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด คือ ช่วยต้านความเหี่ยวและริ้วรอย นอกจากนี้กล้วยทั้ง 3 ชนิดนี้ยังมีปริมาณของ Mn ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า สำหรับเนื้อสัตว์ทั้งเนื้อหมูและไก่ พบว่า มีปริมาณของ As และ Cd น้อยกว่าในตับและไต จึงมีความปลอดภัยในการบริโภค ส่วนตับและไตของหมู และตับไก่มีปริมาณของ As และ Cd สูง จึงไม่เหมาะที่จะนำมาปรุงเป็นอาหารโดยเฉพาะสำหรับเด็กบ่อยมากนัก และสำหรับนมถั่วเหลือง พบว่า มีปริมาณ Mn, Cd, Pb และ Al ค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าเด็กเล็กได้รับ Mn มากเกินไปจะมีผลต่อพัฒนาการทางสมองและพฤติกรรมการแสดงออกได้ด้วย ส่วนปริมาณของธาตุและโลหะหนักในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็ก ซึ่งมีทั้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศและที่ผลิตในประเทศไทย พบว่า ค่าเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

จากผลการศึกษาวิจัยที่ได้นี้ สรุปได้ว่า การปนเปื้อนของโลหะหนักบางชนิดที่เป็นอันตราย เช่น As และ Cd ในอาหารส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานสูงสุดที่ให้มีได้ในอาหารนั้นๆ แต่มีอาหารบางชนิดที่เด็กเล็กไม่ควรบริโภคเป็นประจำต่อเนื่อง เช่น เครื่องในสัตว์ นมถั่วเหลือง เนื่องจากอาจมีปริมาณของโลหะหนักบางชนิดสูง ซึ่งถ้าบริโภคติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีการสะสมของโลหะหนักเหล่านี้ในร่างกายสูง และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

แหล่งข้อมูล:

  • โครงการวิจัยชื่อ “การตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะต่างๆ ในอาหารสำหรับเด็กอ่อนและอาหารเสริมจากธรรมชาติอื่นๆในประเทศไทย” – ระยะเวลาโครงการ: 1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2554