Wandee Sirapat

All posts by Wandee Sirapat

ทำไมถึงต้องเป็น….ห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025?

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว, นันทนิจ ผลพนา และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา/แผนกปฏิบัติการวิเคราะห์ หน่วยวิจัยและวิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา วันนี้อยากจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025 และทำไมเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีห้องปฏิบัติการทดสอบในการทำวิจัยหรือเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ หลายๆคนคงสงสัยว่า มาตรฐาน ISO/IEC 17025 คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานสากลที่ร่วมกันระหว่าง International Organization for Standardization กับ International Electrotechnical Commission เพื่อกำหนดข้อกำหนดทั่วไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน (General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories) ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานสากลที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของการทดสอบ หรือการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ มีความสำคัญอย่างยิ่งกับภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ส่งออกสินค้า ที่มีความจำเป็นต้องใช้ผลการทดสอบ/สอบเทียบ ที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และเชื่อถือได้… (read more)

ข้อมูลด้านพิษวิทยาของ Chlorpyrifos ในช่วงทศวรรษนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา 1. Chlorpyrifos และผลกระทบต่อระบบประสาทของเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มที่เปราะบางเพราะมีน้ำหนักตัวน้อย พัฒนาการของระบบต่างๆในร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมจึงมีผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ US EPA ได้ประกาศให้มีการค่อยๆเลิกใช้ Chlorpyrifos ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยตั้งต้นแต่ปี ค.ศ.2000-2001 และได้มีการศึกษาผลกระทบของมาตรการดังกล่าวในปี ค.ศ. 2003-2005 ในการรวบรวมข้อมูลจาก 50 ครัวเรือนซึ่งมีเด็กอายุ 3 ขวบ พบว่ามาตรการของ US EPA ได้ผล ทำให้เด็กได้รับสารกำจัดแมลงน้อยลง (Wilson et al., 2010) ในปี ค.ศ.2012 Rauh และคณะได้รายงานผลการวิจัยในวารสาร PNAS ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำของสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาเด็ก 40 คน อายุระหว่าง 5.9-11.2 ปี ซึ่งมารดาได้รับสาร Chlorpyrifos ระหว่างตั้งครรภ์ โดยการตรวจวัดสารนี้ในเลือดจากรกมารดา… (read more)

การประชุมวิชาการประจำปี 2561 (17 พฤศจิกายน 2561)
เรื่อง 2 ด้านของสารเคมี (Two Faces of Chemicals)

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download in pdf format) กล่าวรายงานการประชุมโดย ศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา  กล่าวเปิดการประชุมโดย ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา การอภิปราย เรื่อง Drug development: From bench to bedside โดย สมาชิกศูนย์ฯ การอภิปราย เรื่อง สารกำจัดศัตรูพืช (pesticide) ที่มีความเสี่ยงสูง: ทางออกของประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร. พรพิมล  กองทิพย์        คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กิตนะ  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางผกาสินี คล้ายมาลา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย… (read more)

The Study of Mercury Compounds Contamination from Map Ta Phut Area

Asst. Prof. Dr. Apinya Navakhun Faculty of Science, Burapha University The study of the contamination of mercury in Map ta phut Industrial Estate area, Rayong Province was determined in this study. The contamination of mercury in surface water, sea water and sediment in Klong Chak Mak, Klong Bang Ka Phun, Klong Nam Cha and Klong… (read more)