Archive for 2012

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโดยปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น ระหว่างเซลล์ตรึงแบคทีเรียและเอนไซม์ไลเปสตรึงรูปที่ทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ไบโอดีเซล หรือเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลที่ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาพบว่า การใช้เอนไซม์ไลเปสเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น เป็นกระบวนการที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคาและความเสถียรที่ต่ำของเอนไซม์ เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เมทานอล เป็นองค์ประกอบ จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการค้นหาแหล่งผลิตเอนไซม์ไลเปสจากธรรมชาติที่ให้เอนไซม์ไลเปสที่มีความเสถียรสูงและทนต่อสภาวะที่มีตัวทำละลายอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น จากแบคทีเรียจำนวน 22 ไอโซเลทที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสได้ พบแบคทีเรีย 2 ไอโซเลทที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสได้ในปริมาณสูงและถูกเลือกมาใช้เป็นแหล่งผลิตเอนไซม์ไลเปสเพื่อศึกษาต่อไป แบคทีเรียไอโซเลทที่ 1 ซึ่งได้มีการจัดจำแนกสายพันธุ์เป็น Acinetobacter baylyi สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสออกภายนอกเซลล์ จากการศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อการผลิตเอนไซม์พบว่า A. baylyi สามารถผลิตเอนไซม์ได้สูงที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช 5.75 ด้วยการเขย่าด้วยความเร็ว 150 รอบต่อนาที โดยสามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสได้แอคติวิตีและปริมาณมวลชีวภาพสูงที่สุด เมื่อเลี้ยงเชื้อเจริญในสภาวะดังกล่าวเป็นเวลา 15 ชั่วโมง โดยพบว่าการเติมกลูโคสความเข้มข้นร้อยละ 0.8 (น้ำหนักต่อปริมาตร) หรือแอมโมเนียซัลเฟตความเข้มข้นร้อยละ 0.4 (น้ำหนักต่อปริมาตร) ลงในอาหารเลี้ยงสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตเอนไซม์ไลเปสได้ 2.5 เท่า แต่หากเติมพร้อมกันจะเพิ่มแอคติวิตีของ เอนไซม์ไลเปสได้… (read more)

Development of antibody against metallothionein (MT) from seabass (Lates calcarifer, BLOCH) exposed to cadmium and its usefulness as a potential biomarker to determine exposure of heavy metal pollutants in tropical fish of Thailand

Asst. Prof. Dr. Praparsiri Barnette Faculty of Science, Burapha University The CdNO3.4H2O injection enables the stimulation of Cd-binding protein synthesis as metallothionein (MT) form in the Lates calcarifer, Bloch liver. MT protein undergone a protein extracted by immobilized metal ion affinity chromatography technique. After analyzed with SDS-PAG Electrophoresis and the UV spectra of Cd2+– protein… (read more)

การจัดการของเสียและลดอันตรายจากสารเคมีประเภทปิโตรเลียมในบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง

รองศาสตราจารย์ ดร. ประหยัด โภคฐิติยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการศึกษาปริมาณการปนเปื้อนและการกระจายของสารปิโตรเลียมกลุ่มสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds หรือ VOCs) ที่เกิดจากระบบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในพื้นที่รอบนิคมฯ ทั้งหมด 10 พื้นที่ โดยการเก็บตัวอย่างดินที่ระดับผิวดิน (0-10 ซม.) และระดับใต้ผิวดิน (ลึกกว่า 20 ซม.) ทุก 3 เดือน สกัดด้วยวิธี solid – liquid extraction และวิเคราะห์ผลด้วย Gas Chromatography equipped with mass spectrometer (GC-MS) พบว่าสารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด ได้แก่ Benzene, Ethylbenzene, Methyl-tert-butylether, Toluene, 1,2,4-Trimethylbenzene, 1,3,5-Trimethylbenzeneม, o-Xylene, m-Xylene, p-Xylene, Naphthalene และ 1,3-Butadiene… (read more)

การประชุมวิชาการประจำปี 2555

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน – วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download in pdf format)    เผยแพร่ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2555

สภาวะโลกร้อนและอุบัติการณ์ของแบคทีเรียในหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี

รองศาสตราจารย์ ดร.สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาผลของสภาวะโลกร้อนต่ออุบัติการณ์ของแบคทีเรียในหาดบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 8 บริเวณ ได้แก่ ตลาดอ่างศิลา ท่าเรืออ่างศิลา หาดบางแสน หาดวอนนภา นาเกลือ พัทยาเหนือ พัทยาใต้และนาจอมเทียน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิของน้ำทะเล บริเวณบางแสนและพัทยาทั้ง 8 บริเวณมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 25.00 ± 0.00 ถึง 34.90 ± 0.00 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิน้ำทะเล ณ บริเวณบางแสนและพัทยา จังหวัดชลบุรี ของกรมควบคุมมลพิษตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง 2554 ของทั้ง 8 บริเวณเทียบกับการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ณ ปัจจุบัน น้ำทะเลมีอุณหภูมิที่ต่ำลง แต่ในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนน้ำทะเลมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่วนเดือนสิงหาคมและตุลาคมมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทั้งที่เพิ่มขึ้นและลดลงของบริเวณเก็บตัวอย่างทั้ง 8 บริเวณ นั่นแสดงให้เห็นว่าเกิดความแปรปรวนของอุณหภูมิของน้ำทะเลทั้งในฤดูร้อนที่มีอากาศเย็นขึ้น… (read more)