Archive for 2015

สารหนูและแคดเมียม ในอาหารทะเล…ปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่?

ดร. นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ.ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา อาหารทะเล…ถึงแม้ว่าจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่หลายๆคนก็ยังชอบรับประทาน ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก เมื่อนำมาประกอบอาหาร ล้วนแต่มีรสชาติถูกปาก เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะไอโอดีน ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการสร้างไธรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมพัฒนาการของสมอง อาหารที่มีไอโอดีนสูง ได้แก่ อาหารทะเลทั้งสัตว์และพืช เช่น ปลาทะเล กุ้งทะเล สาหร่ายทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเติมไอโอดีนในเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น เกลือ เป็นต้น เพื่อให้สะดวกต่อการบริโภคได้ทุกวัน แต่จากข่าวในหนังสือพิมพ์ ที่มีการตรวจพบปริมาณสารหนูในอาหารทะเล ได้แก่ ตัวอย่างปลาหมึกแห้ง (5 ตัวอย่าง; วันที่ 28 ม.ค. 2554) มีปริมาณสารหนู 0.339-0.858 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/144507),… (read more)

การประชุมวิชาการประจำปี 2558 (28-29 พฤศจิกายน 2558)
เรื่อง Trends of Research in Environmental Health

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน – วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 2558 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download in pdf format) กล่าวรายงานการประชุมโดย ศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา  กล่าวเปิดการประชุมโดย รศ.ดร. ชัยยุทธ ขันทปราบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและ วิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายพิเศษ เรื่อง Trends in Research on Environmental Health การบรรยายพิเศษ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยวิชาการ ที่เป็นสมาชิกศูนย์ การบรรยาย เรื่อง Design for Sustainability in 21st Century โดย ดร.วิไลพร เจตนจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยี บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย… (read more)

Development of a Biological Nutrient Removal Model with the Shortened Operating Cycle Time for AnA2/O2 SBR2

Assoc. Prof.Dr. Prayoon Fongsatitkul Faculty of Public Health, Mahidol University This research aimed to investigate the role of the long sludge age and short cycle time of AnA2/O2, in an 8-hr operation cycle, to enhance organics and nutrient (N and P) removal efficiency from slaughterhouse wastewater. Effects of the first anoxic time/second anoxic time ratios… (read more)

ความคืบหน้า งานวิจัยสารหนูในข้าว

น.ส. สุมลธา หนูคาบแก้ว, ดร.นุชนาถ รังคดิลก และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา สำนักงานพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์ความเป็นเลิศฯ ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัย เรื่อง การตรวจวิเคราะห์สารหนูในข้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเก็บตัวอย่างข้าวจากจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศ มาทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารหนูอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังปริมาณสารหนูในข้าวเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และได้มีการเผยแพร่บทความที่ได้จากงานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณสารหนูในข้าว ในวารสารต่างประเทศ และใน website ของศูนย์ความเป็นเลิศฯ และจากบทความ เรื่อง “ปริมาณของสารหนูในข้าว” ที่ได้เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ใน Website ของศูนย์ความเป็นเลิศฯ คณะผู้วิจัยได้เขียนรวบรวมงานวิจัยของประเทศอื่นๆที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสารหนูในข้าวและความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลที่มีการศึกษาในต่างประเทศในพื้นที่ที่มีปริมาณสารหนูในธรรมชาติสูง อาจจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิดมากกว่าคนอื่นๆ ในตอนท้ายของบทความได้สรุปไว้ว่า งานวิจัยจากต่างประเทศนั้นพบว่า ตัวอย่างข้าวไทยมีปริมาณสารหนูน้อยกว่าข้าวจากประเทศอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจวิเคราะห์สารหนูในข้าว มีความยุ่งยากซับซ้อน… (read more)

Transcription Regulation of a Response to Reactive Oxygen Species Exposure in Pseudomonas aeruginosa, a Causative Agent of Nosocomial Infection

Assoc. Prof. Dr. Mayuree Fuangthong Chulabhorn Research Institute Bacterial ability to overcome host defense is one of a key factor for bacteria including Pseudomonas aeruginosa, which is an important human pathogen, to infect host successfully. In this study, bioinformatic analysis of P. aeruginosa PAO1 genome reveals the presence of PA0242 encoding putative 4-hydroxyphenylpyruvate dioxygenase enzyme…. (read more)