Archive for 2011

Biodegradable Polymers: Thermoplastic Starch Reinforced with Recycled Paper Cellulose Fibers

Dr. Kathawut Pachana Faculty of Science, Burapha University Environmental concerns have resulted in a renewed interest in environmental-friendly plastics issues for sustainable development as biodegradable renewable resource. The main objective of this research was to prepare and investigate properties of the biodegradable composites based on thermoplastic starch (TPS) reinforced with recycled paper cellulose fibers. In… (read more)

Isolation of cadmium- and zinc-resistant bacteria and their application on bioremediation

Choowong Auesukaree and Thodsaphol Limcharoensuk Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand At present, mining operation is one of major causes of heavy metal pollution in environment. Biological approaches such as using microorganisms in metal biosorption are promising strategies for remediation of metal-contaminated soil and wastewater. In this study, cadmium- and… (read more)

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะต่างๆ ในอาหารสำหรับเด็กอ่อน และอาหารเสริมจากธรรมชาติอื่นๆในประเทศไทย

ดร. นุชนาถ รังคดิลก ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ สถาบันบันฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ปัจจุบันมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ เพื่อช่วยในการเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นสาเหตุให้มีการปนเปื้อนของโลหะหนักที่มาจากปุ๋ยและสารเคมีเหล่านี้เข้าไปในผลผลิตทางการเกษตรที่นำมาใช้เป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งเมื่อเด็กได้รับปริมาณโลหะหนักเหล่านี้เข้าไปสะสมในร่างกายในปริมาณมากแล้ว ก็จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่เปลี่ยนไป และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก (Mg, Ca, Mn, Fe, Cu, Zn, V, Cr, Co, Ni, Se, Mo, Sr, Al, As, Cd, Hg, and Pb) ในอาหารชนิดต่างๆ จำนวน 667 ตัวอย่าง (ปี 2005-2008) ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง น้ำดื่ม ผักชนิดต่างๆ ข้าว กล้วย ไข่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (เนื้อ ตับ) โดยนำตัวอย่างเหล่านี้มาเติมกรดไนตริกบริสุทธิ์เข้มข้น 65% แล้วทำการย่อยด้วยเครื่องไมโครเวฟ และวิเคราะห์ปริมาณธาตุและโลหะหนักต่างๆด้วยเครื่อง Inductively… (read more)

การศึกษาโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษของโลหะหนักในปริมาณที่ตรวจพบใน
ตัวอย่างน้ำและอาหารจากเขตชุมชนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ สถาบันบันฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า จังหวัดระยองเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต ซึ่งประกอบไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยที่ผ่านมาได้มีการศึกษาสำรวจพบว่าสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมฯ มีการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่มีความเป็นพิษสูง เช่น แคดเมี่ยม อีกทั้งจากการศึกษาของเราก่อนหน้านี้ ยังพบการปนเปื้อนของโลหะหนักเหล่านี้ ในตัวอย่างน้ำและอาหารที่สุ่มเก็บจากตลาดในชุมชนบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมฯ สำหรับการศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษของโลหะหนักในปริมาณที่ตรวจพบในตัวอย่างน้ำและอาหารจากเขตชุมชนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมุ่งศึกษาไปที่โลหะ 3 ชนิด ได้แก่ สารหนู แคดเมี่ยมและแมงกานีส โดยปริมาณของโลหะทั้ง 3 ชนิดที่พบในน้ำดื่มและอาหารชนิดต่างๆ จะถูกนำมาคำนวณหาปริมาณที่คาดว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมฯ จะได้รับจากการรับประทานในแต่ละวัน ซึ่งค่าจากการคำนวณค่าเฉลี่ยของปริมาณที่ได้รับจากการรับประทานในแต่ละวันของ สารหนู แคดเมี่ยมและแมงกานีส คือ 0.645 0.076 และ 9.772 มิลลิกรัม ตามลำดับ หลังจากนั้น ได้นำค่าเฉลี่ยที่ได้นี้มาคำนวณหาความเข้มข้นของโลหะแต่ละชนิดเพื่อใช้ในการทดสอบความเป็นพิษในหลอดทดลอง (cytotoxicity test) โดยเลือกใช้เซลล์มะเร็งเต้านม (T47D) ปอด (A549) และเม็ดเลือดขาว (Jurkat) เป็นตัวแทน ซึ่งได้ค่าความเข้มข้น… (read more)

การประชุมวิชาการประจำปี 2554
“Perspectives in Environmental Health Research”

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร กำหนดการ (download in pdf format) กล่าวรายงานโดย รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ ผู้อำนวยการ ETM พิธีเปิด โดย รศ.ดร. ชัยยุทธ ขันทปราบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษา และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ บรรยายเรื่อง Perspectives in Environmental Health Research การบรรยาย เรื่อง แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในระยะที่ 3 โดย รศ.ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์ และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ การเสนอผลงานวิจัยใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เผยแพร่ ณ วันที่ 1 กันยายน 2554