Archive for 2010

หมอกควันภาคเหนือ : ปัญหาที่ยังรอการแก้ไข

รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล รายะนาคร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาพปัญหามลพิษและหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย ได้เป็นข่าวไปทั่วโลกในเดือนมีนาคม 2550 เมื่อมีหมอกควันปกคลุมในหลายพื้นที่ ในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และในวันที่มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ ในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอนหรือพีเอ็ม 10 (PM10) ที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ได้ถึง 383 ไมโครกรัมต่อปริมาตรอากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ ของประเทศไทยที่กำหนดไว้ ที่ค่าเฉลี่ยในช่วง 24 ชั่วโมง ไว้ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไปกว่า 3 เท่าตัว นับเป็นสถิติสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่ได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างเป็นทางการ เฉพาะในช่วงวันที่ 15–23 มีนาคม 2550 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับรายงานจำนวนประชาชนในภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน ที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากภาวะหมอกควันในช่วงนั้นถึงเกือบหกหมื่นคน แม้ว่า จังหวัดเชียงใหม่… (read more)

สาหร่าย…อาหารที่ปลอดภัยจริงหรือ?

ดร. นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ.ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สาหร่าย กำลังเป็นอาหารว่างที่นิยมบริโภคอย่างมากในคนหลายวัย มีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ส่วนใหญ่บริโภคเป็นของกินเล่น สาหร่ายพบมีอยู่ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำพุร้อน แต่สาหร่ายที่นำมาเป็นอาหาร ได้แก่ สาหร่ายทะเล และสาหร่ายน้ำจืด สาหร่ายเป็นแหล่งของโปรตีนคล้ายเนื้อสัตว์ ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนเป็นชาติแรกๆ ที่เห็นคุณค่าของสาหร่าย อาหารญี่ปุ่น มีเมนูอาหารที่ใช้สาหร่ายเป็นส่วนผสมมาก ส่วนอาหารจีนก็เช่นเดียวกัน คนจีนเรียกสาหร่ายทะเลว่า “จีฉ่าย” เรามักจะนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงจืดใส่กับเต้าหู้หมูสับ เป็นรายการอาหารที่นิยมของทั้งชาวจีนและไทย นอกจากนี้ เราจะเห็นสาหร่ายทะเลอีกรูปแบบหนึ่งที่ตัดเป็นแผ่นบางๆ สี่เหลี่ยมจัตุรัสบ้าง ผืนผ้าบ้าง บรรจุซองพลาสติก ซองละ 4-5 แผ่น ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายขนม เด็กๆ จะชอบซื้อรับประทาน เป็นสาหร่ายรสชาติอร่อย เพราะมีการปรุงแต่งรสชาติด้วย น้ำตาล พริกไทย หรือเครื่องปรุงรสต่างๆ สาหร่ายเหล่านี้จะเป็นสายพันธุ์ Porphyra… (read more)

การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(Strategic Environmental Assessment)

ผศ. ดร.เรวดี โรจนกนันท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และถูกใช้อย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ มิได้มีแต่เพียงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) กำลังถูกนำมาใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเป้าหมายให้เกิดความยั่งยืนในทางสิ่งแวดล้อมตามที่ปรากฎในเป้าหมายในการพัฒนาแห่งศตวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) โดยให้มีการรวมหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าอยู่ในนโยบายและแผนระดับประเทศ (OECD 2006) สำหรับแนวคิดของ SEA ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยได้มีการนำแนวคิดของ SEA เข้าสู่กระบวนการตัดสินใจโดยมีปรากฏใน National Environmental Policy Act (NEPA) (Mitsubishi Research Institute 2003) หลังจากนั้นเมื่อประเทศต่างๆ เช่น ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส ได้เห็นความสำคัญ จึงเริ่มนำแนวความคิดของ SEA มาประยุกต์ใช้ แต่จุดสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นที่ยอมรับของ… (read more)

การบำบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารตะกั่วโดยใช้พืช

ศ.ดร. มาลียา เครือตราชู ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัญหามลภาวะในสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก โลหะหนักเป็นสารก่อมลภาวะที่สำคัญ เพราะไม่ถูกทำลาย หรือสลายตัวช้ามากและมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตโดยมีการสะสมเป็นปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ในห่วงโซ่อาหาร โลหะหนักสำคัญที่เป็นปัญหามลภาวะของประเทศไทย คือ ตะกั่วและแคดเมียม ตะกั่วมีการสลายตัวช้ามาก (150 – 500 ปี) แหล่งที่มีการใช้ตะกั่ว คือ เหมืองตะกั่ว โรงงานอุตสาหกรรมสี น้ำมันเบนซิน โรงงานแบตเตอรี่ เป็นต้น ตะกั่วมีผลต่อสุขภาพ โดยมีผลต่อระบบประสาท ไต และ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การกำจัดตะกั่วในดิน อาจทำได้โดยการขุดดินที่ปนเปื้อน เคลื่อนย้ายออกมาเพื่อการฝังกลบ (landfill) และดินใหม่จะถูกนำมาแทนที่ ส่วนการกำจัดตะกั่วในระบบบำบัดน้ำเสีย อาศัยวิธีการทำให้ตะกั่วตกตะกอนด้วยสารเคมี ซึ่งต้องนำตะกอนเหล่านี้ไปฝังกลบอีกทีหนึ่ง กระบวนการเหล่านี้ มิได้แก้ปัญหาการปนเปื้อนเพียงแต่ย้ายดินหรือตะกอนที่มีโลหะหนักจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่งเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก นอกจากนี้ วิธีการดังกล่าวยังไม่สามารถกำจัดตะกั่วที่ปนเปื้อนในปริมาณต่ำๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาหาวิธีการกำจัดตะกั่วที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่สะอาด (clean technology) เทคโนโลยีการบำบัดดินหรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยโลหะหนักโดยใช้พืช (phytoremediation) เป็นทางเลือกอีกอันหนึ่งโดยอาศัยความสามารถของพืชที่ทนต่อโลหะหนัก และสะสมโลหะหนักได้เป็นปริมาณมากด้วย… (read more)

การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และภาพถ่ายดาวเทียม
ในงานด้านสิ่งแวดล้อม

ดร. สุวิสา มหาสันทนะ ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System :GIS) และ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างน่าสนใจ ในงานหลายสาขา รวมทั้ง งานด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือมักเรียกกันสั้นๆ ว่า จีไอเอส คือ ระบบการทำงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพื้นที่ สามารถแสดงผลในรูปของแผนที่ สถิติ ตาราง หรือภาพ ในเชิงพื้นที่ได้ ใช้หลักการวิเคราะห์ โดยซ้อนข้อมูลทับกันเป็นชั้นๆ โดยยึดค่าพิกัดของข้อมูลแต่ละชั้นเป็นหลัก และวิเคราะห์หาผลลัพธ์ ตามเงื่อนไขความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้นได้ สามารถใช้ร่วมกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ได้ ตัวอย่างงานทางด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขที่สามารถใช้จีไอเอส ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การกระจายตัวของโรคหรือความเข้มข้นของมลพิษในบริเวณต่างๆ การแสดงจุดเก็บตัวอย่างและผลของการเก็บตัวอย่างในเชิงพื้นที่ การทำฐานข้อมูลในเชิงพื้นที่ การนำผลงานวิจัยในเรื่องต่างๆมาหาความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่กับข้อมูลอื่น เช่น หาความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเชิงอุตสาหกรรม แหล่งน้ำ แหล่งมลพิษ บ้านเรือนประชาชน โรงพยาบาล ชั้นน้ำใต้ดิน หรือ พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น การใช้จีไอเอสในการหาพื้นที่ที่เหมาะสม… (read more)