Wandee Sirapat

All posts by Wandee Sirapat

Construction of Acinetobacter baylyi Producing the Organic Solvent-tolerant Lipase with a Broad Spectrum of Substrate Specificity

Asst.Prof.Dr. Jittima Charoenpanich Faculty of Science, Burapha University Lipases are commonly applied enzymes in biocatalysis and organic chemistry. They catalyze numerous reactions, recognize many substrates and exhibit high regioselectivity and enantiospecificity, characteristics that contribute to their wide application. The temperature and solvent stability as well as broad substrate specificity of lipases have regarded as the… (read more)

การใช้จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพืชในการบำบัดการปนเปื้อน
โลหะหนักในสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร. ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนักในดินและน้ำ เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการทำเหมืองแร่ หรือจากกากของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับในประเทศไทยที่ผ่านมาก็มีรายงานการปนเปื้อนโลหะหนักที่รุนแรงในหลายพื้นที่ เช่น การปนเปื้อนสารแคดเมียมในห้วยแม่ตาว จังหวัดตาก การปนเปื้อนสารตะกั่วในห้วยคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี และการปนเปื้อนสารหนูในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น แม้ว่าที่ผ่านมาเรามักใช้วิธีทางกายภาพและเคมีในการบำบัดการปนเปื้อนโลหะหนัก เช่น การกรอง การตกตะกอนทางเคมี การแยกกรองด้วยไฟฟ้า เป็นต้น (Dermont et al., 2008) แต่ในปัจจุบันการบำบัดด้วยวิธีทางชีวภาพกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายต่ำ และไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในพื้นที่บำบัด หนึ่งในนั้นก็คือวิธีการบำบัดด้วยพืช (phytoremediation) ซึ่งเป็นเทคนิคการนำพืชมาใช้ช่วยดูดโลหะหนักจากดินและน้ำที่ปนเปื้อนขึ้นไปสะสมไว้ที่ใบ ลำต้น หรือรากของพืช หลังจากนั้นจึงค่อยนำส่วนต่างๆ ของพืชไปเผาหรือฝังกลบต่อไป ดังนั้นพืชที่เหมาะสมในการนำมาใช้นั้นจึงควรเป็นพืชที่มีความทนทานต่อโลหะหนักและสามารถสะสมโลหะหนักได้ในปริมาณมาก (Raskin et al., 1997) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ ให้ดียิ่งขึ้นจึงมีการนำสารเคมีบางชนิด เช่น EDTA (Ethylene diamine tatra-acitic acid) มาใช้ร่วมด้วย เนื่องจาก… (read more)

ข้าวไทย…ปลอดภัยจากโลหะที่เป็นอันตราย

ดร.นุชนาถ รังคดิลก สุมลธา หนูคาบแก้ว และ รศ. ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์่ ข้าวไทย…ปลอดภัยจากโลหะที่เป็นอันตราย (Thai rice is safe from the contamination of toxic metals) จากที่มีผลงานวิจัยของนักวิชาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา (มหาวิทยาลัย Monmouth ในรัฐ New Jersey) รายงานว่า ข้าวจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาใต้ ที่นำเข้าไปขายในสหรัฐอเมริกามีปริมาณสารตะกั่วปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะทารกและเด็กเล็ก ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างข้าวที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในสหรัฐอเมริกา ทั้งจากภูฏาน, อิตาลี, จีน, ไต้หวัน, อินเดีย, อิสราเอล, สาธารณรัฐเช็ก และไทย ซึ่งข้าวที่นำเข้าเหล่านี้คิดเป็น 65% ของข้าวทั้งหมดที่สหรัฐนำเข้า มาทำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่ว ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ข้าวทั้งหมดมีปริมาณสารตะกั่ว 6-12 มิลลิกรัมต่อข้าว 1 กิโลกรัม โดยข้าวจากจีนและไต้หวัน มีปริมาณสารตะกั่วปนเปื้อนสูงที่สุด… (read more)

Investigation of Estrogenic and Estrogen-like Pollutant by Cell Technology Assay

Assoc. Prof. Dr. Weera Wongkham Faculty of Science, Chiang Mai University This research work aims at studying the existence of endocrine disruptors (ED) polluted in aqueous natural resources in which affect on living organism in Chiang Mai, northern Thailand. Targeting at using cellular technologies to screen and evaluate the bioactive effects and to quantify the… (read more)

เมล็ดลิ้นจี่ เซี่ยงจี๊ น้ำซาวข้าว…ปลอดภัยต่อไตจริงหรือ?

ดร. นุชนาถ รังคดิลก และ รศ.ดร. จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์่ ผู้เขียนได้บังเอิญอ่านเจอข่าวจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (ฉบับวันพฤหัสที่ 28 มี.ค. 2556 หน้า 10) ที่ได้เตือนผู้บริโภคหรือผู้ป่วยโรคไตเกี่ยวกับสูตรยาสมุนไพรรักษาโรคไตที่ว่ากันว่าถูกส่งต่อมาจากประเทศไต้หวันเมื่อราว 7 ปีก่อน ซึ่งสูตรสมุนไพรที่ถูกกล่าวถึงนี้เป็นการนำเอาเมล็ดลิ้นจี่สดมาทุบบดต้มรวมกับไตหมู (เซี่ยงจี๊) และน้ำซาวข้าว ให้ผู้ป่วยโรคไตดื่มจะทำให้มีอาการดีขึ้น ในข่าวระบุว่าผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ อายุรวัฒน์นานาชาติได้กล่าวเตือนถึงการนำสูตรสมุนไพรนี้มาใช้กับผู้ป่วยโรคไตว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก เนื่องจากในเมล็ดลิ้นจี่ ไตหมู และน้ำซาวข้าว มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งจะทำให้ไตยิ่งทำงานหนักมากขึ้นในการขับออก หากผู้ป่วยรับประทานเข้าไปมากๆ ก็จะเกิดอาการบวมน้ำได้ ดังนั้นสูตรยาสมุนไพรนี้ จึงมีผลในทางตรงกันข้าม แทนที่จะช่วยบรรเทาอาการ อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคไตมากยิ่งขึ้น เมื่อดูสูตรสมุนไพรรักษาโรคไตนี้แล้ว ทำให้เกิดความเป็นห่วงใยต่อผู้ป่วยโรคไตเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลงานวิจัยของห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารต่างประเทศเมื่อต้นปีนี้ เรื่อง Evaluation of Trace Elements in Selected Foods and Dietary Intake by Young Children… (read more)