Archive for February 2024

สถานการณ์การปนเปื้อนของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิลในสิ่งแวดล้อม อาหาร และการได้รับสัมผัสในประชากรไทย

ดร.ทวิช สุริโย, ดร.นุชนาถ รังคดิลก, นันทนิจ ผลพนา, และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI)และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: SC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยการลดและ/หรือเลิกการผลิต การใช้และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants: POPs) รวมทั้งการกำจัดสารดังกล่าวให้หมดไป ซึ่งสาร POPs เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ตกค้างยาวนาน สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิต ในห่วงโซ่อาหาร และในสิ่งแวดล้อมได้มาก และยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันสาร POPs ที่ถูกบรรจุอยู่ในอนุสัญญาสตอกโฮล์ม มีมากถึง 30 ชนิด หนึ่งในกลุ่มสารเคมีเหล่านั้น ได้แก่ สารกลุ่มเพอร์/โพลีฟลูออโรอัลคิล (Per/polyfluoroalkyl substances: PFASs) ทั้งนี้ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2005 ส่งผลให้อนุสัญญามีผลบังคับใช้กับประเทศไทย… (read more)