Archive for October 2012

ศักยภาพของสาหร่ายขนาดเล็กที่เลี้ยงด้วยระบบน้ำเขียวเพื่อลดภาวะโลกร้อน
และเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก

รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี พีรพรพิศาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผสมขนาดเล็กแล้วเติม CO2 สังเคราะห์ลงไปโดยมีการให้อากาศที่แตกต่างกันคือ ไม่ให้อากาศ (control), ให้อากาศจากเครื่องปั๊ม (air pump) ซึ่งเป็นอากาศจากบรรยากาศทั่วไป, 100% N2 และ 10% CO2 ด้วยอัตรา 100 mL.min-1 หลังการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 26 วันพบว่าสาหร่ายเจริญได้ดีที่สุดในสภาวะที่มีการให้ 10% CO2 โดยมีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และน้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ 3,043.3±786.32 µg.mL-1 และ 0.2075±0.07 gL-1 ตามลำดับ สาหร่ายชนิดเด่นที่พบคือ Dictyosphaerium sp. และ Actinastrum sp. รองลงมาคือ Monoraphidium sp. ต่อมาได้ทำการเพาะเลี้ยงโดยมีการให้ 20% CO2 และ 30% CO2 พบว่า สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในสภาวะที่มี 30% CO2… (read more)