Archive for July 2012

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโดยปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น ระหว่างเซลล์ตรึงแบคทีเรียและเอนไซม์ไลเปสตรึงรูปที่ทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ไบโอดีเซล หรือเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลที่ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาพบว่า การใช้เอนไซม์ไลเปสเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น เป็นกระบวนการที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคาและความเสถียรที่ต่ำของเอนไซม์ เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เมทานอล เป็นองค์ประกอบ จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการค้นหาแหล่งผลิตเอนไซม์ไลเปสจากธรรมชาติที่ให้เอนไซม์ไลเปสที่มีความเสถียรสูงและทนต่อสภาวะที่มีตัวทำละลายอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น จากแบคทีเรียจำนวน 22 ไอโซเลทที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสได้ พบแบคทีเรีย 2 ไอโซเลทที่สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสได้ในปริมาณสูงและถูกเลือกมาใช้เป็นแหล่งผลิตเอนไซม์ไลเปสเพื่อศึกษาต่อไป แบคทีเรียไอโซเลทที่ 1 ซึ่งได้มีการจัดจำแนกสายพันธุ์เป็น Acinetobacter baylyi สามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสออกภายนอกเซลล์ จากการศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อการผลิตเอนไซม์พบว่า A. baylyi สามารถผลิตเอนไซม์ได้สูงที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช 5.75 ด้วยการเขย่าด้วยความเร็ว 150 รอบต่อนาที โดยสามารถผลิตเอนไซม์ไลเปสได้แอคติวิตีและปริมาณมวลชีวภาพสูงที่สุด เมื่อเลี้ยงเชื้อเจริญในสภาวะดังกล่าวเป็นเวลา 15 ชั่วโมง โดยพบว่าการเติมกลูโคสความเข้มข้นร้อยละ 0.8 (น้ำหนักต่อปริมาตร) หรือแอมโมเนียซัลเฟตความเข้มข้นร้อยละ 0.4 (น้ำหนักต่อปริมาตร) ลงในอาหารเลี้ยงสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตเอนไซม์ไลเปสได้ 2.5 เท่า แต่หากเติมพร้อมกันจะเพิ่มแอคติวิตีของ เอนไซม์ไลเปสได้… (read more)