Archive for January 2012

ล้างโรงเรือนอย่างไร ให้ปลอดภัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การทำความสะอาดหลังน้ำลดมักเป็นการทำความสะอาดคราบสกปรก ตะไคร่น้ำ และการกำจัดเชื้อโรค เชื้อราที่เราอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การป้องกันตนเองของผู้ทำความสะอาด อุปกรณ์ป้องกันตนเองเบื้องต้นที่ควรจัดเตรียม ได้แก่ แว่นตาป้องกัน หน้ากากกรองฝุ่น ผ้าปิดปาก ถุงมือยาง รองเท้าบูท ไฟฉาย ไม้ยาว เกรียง พลั่ว ไม้ปาดน้ำ ขั้นตอนการเตรียมพร้อมก่อนเริ่มทำความสะอาด จับคู่ช่วยกันทำความสะอาด เพื่อการช่วยเหลือหากเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากสัตว์มีพิษ เดินสำรวจพื้นที่รอบๆ ก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อประมาณระยะเวลา อุปกรณ์ เปิดประตู หน้าต่างระบายอากาศ สังเกตุความผิดปกติ เช่น รอยร้าว โพรง รอยรั่ว การไหลของน้ำจากการทำความสะอาด สวิทช์ไฟ คราบเชื้อรา วางแผนเคลื่อนย้ายสิ่งของเพื่อความสะดวกในการทำงาน สิ่งของต่างๆ ที่ต้องจัดการหลังน้ำลด ระบบไฟฟ้า ก่อนเข้าบริเวณบ้าน ต้องแน่ใจว่าได้ตัดไฟส่วนของชั้นล่างทั้งหมดออกแล้ว เนื่องจากไม่อาจทราบได้ว่า จะมีไฟรั่วบริเวณใดบ้าง หากยังมิได้ตัดไฟ หรือไม่แน่ใจ… (read more)

การผลิตแอลกอฮอล์และการกำจัดสีจากน้ำเสียของอุตสาหรรมผลิตน้ำมันปาล์ม

รองศาสตราจารย์ ดร. ประยูร ฟองสถิตย์กุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตแอลกอฮอล์จากน้ำเสียของอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์มดิบ โดยการใช้เชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Solventogenic clostridia ซึ่งนำมายึดเกาะกับตัวกลาง 2 ลักษณะ คือวิธีการ Entrapment และ Attachment ที่ระยะเวลาการเก็บกักที่ 6, 12 และ 24 ชั่วโมง ในทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมของ อัตราส่วนของสารละลาย Fenton เพื่อใช้ในการปรับลักษณะสมบัติของน้ำเสีย เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดสูงสุด เหมาะสมต่อการนำไปผลิตแอลกอฮอล์ โดยการเปรียบเทียบ อัตราส่วนระหว่าง COD:H2O2 และ H2O2 :Fe2+ ที่ COD:H2O2 เท่ากับ 50, 70, 100 และ130 และที่ H2O2 :Fe2+ เท่ากับ 5 10, 20 และ30 ตามลำดับ ผลของการศึกษาพบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารละลาย Fenton ที่ อัตราส่วนระหว่าง… (read more)