Archive for December 2011

ศักยภาพของสาหร่ายขนาดเล็กที่เลี้ยงด้วยระบบน้ำเขียวเพื่อลดภาวะโลกร้อน
และเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก

รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี พีรพรพิศาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปัจจุบันมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สู่บรรยากาศจากกิจกรรมของมนุษย์มากขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์ใช้สิ่งมีชีวิตเพื่อลด CO2 กันมาก หนึ่งในสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นคือสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) ซึ่งสามารถใช้ CO2 ในกระบวนการสังเคราะห์แสงและมีสาหร่ายขนาดเล็กหลายสายพันธุ์สามารถทนต่อสภาวะที่มีความเข้มข้นของ CO2 ได้สูงกว่าพืชทั่วไปโดยสูงถึง 12-80% v/v ในงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะลด CO2 โดยใช้สาหร่ายขนาดเล็ก ทำการเพาะเลี้ยงสาหร่ายผสมขนาดเล็กแล้วเติม CO2 สังเคราะห์ลงไป โดยมีการให้อากาศที่แตกต่างกันคือ ไม่ให้อากาศ (control) ให้อากาศจากเครื่องปั๊ม (air pump) ซึ่งเป็นอากาศจากบรรยากาศทั่วไป100% N2 และ 10% CO2 ด้วยอัตรา 100 mL.min-1 ทำการวัดการเจริญทุก 2 วัน โดยวัดปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และน้ำหนักเซลล์แห้ง หลังการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 26 วันทำการเก็บเกี่ยวและ วัดปริมาณชีวมวลที่ได้ทั้งหมดพบว่าสาหร่ายเจริญได้ดีที่สุดในสภาวะที่มีการให้ 10% CO2 โดยมีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และน้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ… (read more)

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการกระจายของพืชและการเก็บกักคาร์บอนในภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ต่อ 1) ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในป่าผลัดใบ และป่าไม่ผลัดใบบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และ พื้นที่รอยต่อระหว่างป่าดังกล่าว พบว่าป่าเต็งรังพบพรรณไม้ทั้งหมด 100 ชนิด ใน 71 สกุล 44 วงศ์ พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยามากที่สุด คือ พลวง สำหรับดัชนีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ในป่าเต็งรังมีค่า 4.19 มวลชีวภาพทั้งหมดในป่าเต็งรังมีปริมาณ 112.88 ตันต่อเฮกแตร์ และมีการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพ 55.76 ตันต่อเฮกแตร์ ป่าดิบเขาพบพรรณไม้ทั้งหมด 188 ชนิด ใน 124 สกุล 57 วงศ์ และพรรณไม้ที่ไม่สามารถจำแนกได้ 23 ชนิด พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยามากที่สุด คือ ก่อหมาก สำหรับดัชนีความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ในป่าดิบเขามีค่า 5.75 มวลชีวภาพในป่าดิบเขามีปริมาณ 291.82 ตันต่อเฮกแตร์ และมีการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพ 144.22 ตันต่อเฮกแตร์ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีปริมาณคาร์บอนสะสมในมวลชีวภาพของป่าผลัดใบประมาณ 1,161,427… (read more)

การวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในอาหารและน้ำดื่ม
จากเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชาญ สว่างวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในตัวอย่างอาหารและน้ำดื่มจากพื้นที่มาบตาพุด สารอินทรีย์ระเหยง่าย 9 ชนิดได้แก่ เบนซิน ไวนิลคลอไรด์ 1,2-ไดคลอโรอีเทน ไดคลอโรมีเทน 1,2-ไดคลอโรโพรเพน เตตระคลอโรเอทธิลีน คลอโรฟอร์ม และ 1,3-บิวทาไดอีน ถูกแยกและตรวจวัดด้วยแก๊สโครมาโทกราฟีแมสสเปกโตรเมทรี ได้ศึกษาและเปรียบเทียบเทคนิคการสกัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย 2 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการสกัดด้วยวัฎภาคของแข็งระดับจุลภาคและเทคนิคเพิร์จแอนด์แทรบ พบว่าเทคนิคเพิร์จแอนด์แทรบให้ประสิทธิการสกัด และขีดจำกัดการตรวจวัดที่ดีกว่า ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมได้ขีดจำกัดการตรวจวัดของสารอินทรีย์ระเหยง่ายอยู่ในช่วง 0.12-1.94 ไมโครกรัมต่อลิตร ความเที่ยงของวิธีการวิเคราะห์ 8-20% และร้อยละการกลับคืน 95-140% นอกจากนี้ได้นำเทคนิคที่พัฒนานี้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในตัวอย่างผักและน้ำดี่มจากเขตมาบตาพุด พบสารอินทรีย์ระเหยง่าย 6 ชนิด ได้แก่ เบนซิน 1,2-ไดคลอโรอีเทน ไดคลอโรมีเทน 1,2-ไดคลอโรโพรเพน เตตระคลอโรเอทธิลีน และ คลอโรฟอร์ม ในตัวอย่างผัก แต่ไม่พบในตัวอย่างน้ำดื่ม อย่างไรก็ตามความเข้มข้นที่พบมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงวิถีการปนเปื้อน ของสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วย แหล่งข้อมูล: โครงการวิจัยชื่อ “การวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในอาหารและน้ำดื่มจากเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด” – ระยะเวลาโครงการ:… (read more)