Archive for March 2011

การศึกษาความเหมาะสมในการใช้ Bacteroides-infecting Bacteriophage
เป็นตัวบ่งชี้การปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลจากคนและมูลสัตว์ในแหล่งน้ำในประเทศไทย

ดร. ขวัญรวี สิริกาญจน สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในปัจจุบัน มาตรฐานทางชีววิทยาของคุณภาพน้ำสำหรับบ่งชี้การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในน้ำดื่ม น้ำประปา น้ำผิวดินและน้ำทะเลนั้น ใช้แบคทีเรียชี้แนะกลุ่มดั้งเดิม (Traditional Fecal Indicators) ซึ่งประกอบไปด้วยแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด แบคทีเรียกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม E. coli และ Enterococci ซึ่งมีข้อจำกัดหลายๆด้าน เช่น การเพิ่มจำนวนในสิ่งแวดล้อมทำให้ค่าที่ได้ไม่เป็นดัชนีบ่งชี้ที่แท้จริงของการปนเปื้อน ทำให้มีความจำเป็นต้องศึกษาจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ เพื่อใช้เป็นจุลินทรีย์ชี้แนะตัวใหม่ หนึ่งในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีการศึกษา คือ bacteriophages of Bacteroides ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่เติบโตเพิ่มจำนวนในแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้อากาศ ในตระกูล Bacteroides โดยพบอาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่นๆ เช่น โคและสุกร เป็นต้น โครงการวิจัยนี้ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ bacteriophages of Bacteroides เพื่อเป็นตัวบ่งชี้การปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลจากคนและมูลสัตว์ในแหล่งน้ำในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยของโครงการ คือ1) ตรวจหาชนิดและปริมาณของ bacteriophages of Bacteroides จากแหล่งกำเนิดน้ำเสียจากคนและสัตว์ต่างๆ 2) ศึกษาและจำแนกชนิดของ bacteriophages of Bacteroides ที่มาจากสิ่งปฏิกูลจากคนและจากมูลสัตว์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบ่งบอกแหล่งที่มาของการปนเปื้อนจากคนหรือสัตว์… (read more)

ผลกระทบของความเครียดที่เกิดจากระดับความเค็มต่อการเจริญและเมแทบอลิซึม
ของสาหร่ายน้ำจืด Chlorella vulgaris

ดร. เมธา มีแต้ม ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกพืชที่สามารถผลิตอาหารด้วยตนเองผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สาหร่ายขนาดเล็กส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำประเภทต่างๆ และทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ขนาดเล็กในระบบนิเวศ นอกจากนี้มนุษย์ยังสามารถนำสาหร่ายขนาดเล็กบางชนิดมาเพาะเลี้ยงเพื่อประโยชน์ทางการค้า คลอเรลลา (Chlorella) เป็นสาหร่ายสายพันธุ์หนึ่งที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยง เพื่อผลิตเป็นอาหารและอาหารเสริมเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว คลอเรลลาเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว จัดอยู่ในกลุ่มของสาหร่ายสีเขียว (chlorophyte) เติบโตเร็ว พบได้บ่อยในแหล่งน้ำจืดและบางสายพันธุ์พบในน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม นอกจะมีปริมาณโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณที่สูงแล้ว คลอเรลลายังผลิตไขมันปริมาณมาก จึงเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความสนใจในปัจจุบันในการพัฒนามาเป็นแหล่งพลังงานชีวมวลหมุนเวียนสำหรับผลิตไบโอดีเซลด้วย ปริมาณและคุณภาพที่ลดลงของแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตรเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้น้ำจืดเป็นปริมาณมาก ความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายระดับอุตสาหกรรมเพื่อผลิตไบโอดีเซลจึงอาจถูกกำจัดโดยปริมาณแหล่งน้ำจืด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทดสอบผลของระดับความเค็มของน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงต่อการเจริญและการผลิตไขมันของคลอเรลลา สายพันธุ์ Chlorella vulgaris ในการทดลอง C. vulgaris ถูกเลี้ยงในอาหารสูตร BG-11 เป็นเวลา 7 วัน ภายใต้สภาวะห้องปฏิบัติการที่ให้แสงสีขาว 5,000 lux ตลอดเวลา ให้อากาศปกติที่อัตราการไหล 1 ml อากาศต่อนาทีต่ออาหาร 1 ml และควบคุมอุณหภูมิที่ 25º… (read more)

กลไกระดับเซลล์ในการลดพิษจากโลหะ

ดร. เมธา มีแต้ม ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สังคมมนุษย์ในปัจจุบันได้นำโลหะชนิดต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก บ้างนำมาเป็นวัสดุ บ้างนำมาเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คุณทราบหรือไม่ว่าแร่ธาตุโลหะหลายชนิดก็มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตเช่นกัน? ในทางชีววิทยาเราอาจแบ่งกลุ่มของโลหะออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของสิ่งมีชีวิต เช่น ธาตุเหล็ก ทองแดง และสังกะสี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนและเอนไซม์หลายประเภท สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องบริโภคโลหะเหล่านี้ในสัดส่วนที่เพียงพอต่อร่างกาย ส่วนโลหะกลุ่มที่สอง เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และสารหนู นั้นไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต แต่มักเข้าสู่สิ่งมีชีวิตพร้อมกับโลหะที่จำเป็นอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งแวดล้อมมีระดับการปนเปื้อนของโลหะเหล่านี้สูง โลหะทั้งสองกลุ่มอาจก่อให้เกิดพิษต่อสิ่งมีชีวิตได้หากสะสมในปริมาณมาก ความเป็นพิษของโลหะ1มักเกิดจากการที่โลหะไปยับยั้งการทำงานของโปรตีนและเอ็นไซม์สำคัญต่างๆ หรือไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้จะมีฤทธิ์ทำลายสารอินทรีย์ที่เป็นโครงสร้างสำคัญของเซลล์ เช่น DNA หรือเยื่อหุ้มเซลล์ ความผิดปกติในสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากพิษของสารโลหะอาจมีลักษณะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิต ความเข้มข้น และประเภทของโลหะ ตัวอย่างเช่น พิษของแคดเมียมในมนุษย์ทำให้เกิดลักษณะวงสีเหลืองที่โคนของซี่ฟัน อาการปวดกระดูก สูญเสียประสาทการดมกลิ่น ไตวาย และโลหิตจาง เป็นต้น (Godt et al. 2006) ในปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังไม่ประสบปัญหามลพิษจากโลหะ แต่ในบางพื้นที่ปัญหานี้อาจจัดอยู่ในเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังถึงระดับวิกฤตได้ ตัวอย่างเช่น ในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล ปี… (read more)