Archive for January 2011

การผลิตไบโอดีเซลให้มีประสิทธิภาพสูงโดยเอนไซม์ไลเปส
ที่ทนต่อสารทำละลายอินทรีย์

ดร. สุวิทย์ ล้อประเสริฐ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวภาพประยุกต์ สถาบันบันฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จากการศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้น้ำเสียจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตเอนไซม์ที่ย่อยไขมัน ซึ่งสามารถแยกเชื้อจุลชีพที่ผลิตเอนไซม์ไลเปสปริมาณสูงและคุณภาพดี จากน้ำเสียของโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม ได้หลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติที่น่าสนใจ เฉพาะตัวแตกต่างกันไป เช่น ผลิตไลเปสในปริมาณสูง หรือไลเปสสามารถทนความเป็นกรด-ด่างได้ดี เป็นต้น สายพันธุ์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ สายพันธุ์ที่ผลิตเอนไซม์ไลเปสที่ทำงานได้ดีเมื่อมีสารทำละลายอินทรีย์อยู่ด้วย ซึ่งคุณสมบัติพิเศษนี้ เหมาะอย่างยิ่งในการนำไปพัฒนาใช้ใขบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลเนื่องจากในขบวนการผลิตไบดอดีเซลต้องใช้สารละลายอินทรีย์คือแอลกอฮอล์ด้วย โดยปกติแล้วเอนไซม์ไลเปสทั่วไปจะไม่สามารถทนต่อสารทำละลายอินทรีย์ได้คือจะสูญเสียการทำงานไป สาเหตุดังกล่าวเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อขบวนการผลิตไบโอดีเซลที่ใช้เอนไซม์ไลเปส ในหลักการแล้ว การผลิตไบโอดีเซลโดยใช้เอนไซม์ไลเปสจะให้ผลผลิตที่สูงกว่าการใช้ปฏิกิริยาเคมี และที่สำคัญคือเป็นขบวนการผลิตที่สะอาดปราศจากมลพิษ แต่อุปสรรคที่สำคัญสำหรับขบวนการนี้คือ ราคาของเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติที่ดีคือ ทนต่อสภาพที่มีสารทำละลายอินทรีย์ความเข้มข้นสูงๆ นั้นแพงมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเกินความคุ้มค่าในการลงทุน กล่าวได้ว่าปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดของขบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้เอนไซม์คือไลเปสเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติที่ดีนั้นเอง จากการค้นพบเชื้อจุลชีพในประเทศไทยที่ผลิตเอนไซม์ไลเปสที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือทำงานได้ดีเมื่อมีสารทำละลายอินทรีย์อยู่ด้วย งานที่สำคัญต่อมาคือ การผลิตเอนไซม์นี้ให้ได้ในปริมาณมากเพื่อศึกษาคุณสมบัติโดยละเอียด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในขบวนการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทยต่อไปไลเปสที่ผลิตโดยเชื้อ Proteus sp. SW1 ให้ค่า lipase activity สูง (มากกว่า 200% ของ activity เริ่มต้น เมื่อมี isopropanol, ethanol, acetone… (read more)

งากับการป้องกันภาวะวัยทองและต้านมะเร็งเต้านม

ดร.อภิญญา เทียนธนะวัฒน์ ดร.นุชนาถ รังคดิลก และ รศ. ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เมล็ดงา ประกอบด้วย น้ำมันประมาณ 40-59% โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินอี และสารประกอบกลุ่มลิกแนน เช่น เซซามิน และเซซาโมลิน ในระหว่างกระบวนการทำน้ำมันงาและการนำเมล็ดงาไปคั่ว สารเซซาโมลิน จะเปลี่ยนเป็นเซซามอล ส่วนสารเซซามินสามารถถูกเปลี่ยนโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปเป็นสาร 2 ชนิด คือ เอ็นเทอโรไดออลล์ และเอ็นเทอโรแล็กโตน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีรายงานว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายโดยควบคุมระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือดและหัวใจ พบว่า เอสโตรเจนสามารถกระตุ้น และส่งเสริมการเกิดมะเร็งเต้านมชนิดที่เซลมะเร็งมีตัวรับเอสโตรเจนชนิดอัลฟ่า ซึ่งมะเร็งชนิดดังกล่าว สามารถรักษาได้ด้วยยาในกลุ่มที่ต้านฤทธิ์ หรือยับยั้งการผลิตเอสโตรเจน ในสตรีวัยทอง การสร้างเอสโตรเจนลดน้อยลง ก่อให้เกิดกลุ่มภาวะโรควัยทอง ที่สำคัญคือภาวะกระดูกพรุน ซึ่งการรักษาโดยเสริมปริมาณเอสโตรเจนสามารถป้องกัน และลดกลุ่มอาการวัยทองได้ พืชหลายชนิดมีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนเรียกเป็นกลุ่มใหญ่ว่า… (read more)