Archive for October 2009

การปนเบื้อนแคดเมียมในปลาช่อนจากตลาดในกรุงเทพมหานคร

ผศ.ดร. อรทัย อร่ามพงษ์พันธ์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แคดเมียม เป็นโลหะหนักซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในทางอุตสาหกรรม แต่แคดเมียมและสารประกอบของแคดเมียม ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง และจัดเป็นสารก่อมะเร็งในคน บุคคลทั่วไปซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพที่สัมผัสกับแคดเมียมโดยตรง จะได้รับแคดเมียมจากอาหารที่ปนเปื้อน ในประเทศไทย แหล่งอาหารโปรตีนที่มีความสำคัญและมีผู้รับบริโภคสูงสุดคือปลา แต่เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ในห่วงโซ่อาหาร จึงได้รับแคดเมียมจากสิ่งแวดล้อมและมีการสะสมตามอวัยวะต่างๆ ทั้งนี้ ระดับแคดเมียมและโลหะหนักอื่นๆ ในปลายังเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของน้ำได้เป็นอย่างดี ห้องปฏิบัติการตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยจากการปนเปื้อนของแคดเมียมในอาหาร จึงเลือกสำรวจปริมาณแคดเมียมในปลาช่อน ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ ที่มีการสะสมของแคดเมียมจากน้ำและอาหาร ได้แก่ สัตว์เล็กๆ ในห่วงโซ่อาหาร ทั้งนี้ ปลาช่อนจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีการส่งออก และเป็นปลาที่คนไทยนิยมบริโภคเป็นอันดับที่สองรองจากปลานิล เนื่องจากโปรตีนจากปลาช่อน เป็นโปรตีนคุณภาพดี เพราะเป็นปลาที่ซื้อขายในขณะที่ยังมีชีวิต การสำรวจนี้ มุ่งตรวจวัดระดับแคดเมียมในปลาช่อนที่จำหน่ายในตลาดในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปลาเพาะเลี้ยงจากจังหวัดใกล้เคียง เพื่อประเมินความปลอดภัยในการบริโภค ห้องปฏิบัติการได้เก็บตัวอย่างปลาช่อนจากตลาด 6 แห่ง ในเขตต่างๆ ของกรุงเทพฯ 6 เขต ได้แก่ เขตกรุงเทพฯ ใต้ เขตกรุงเทพฯ เหนือ เขตศรีนครินทร์ เขตบูรพา เขตเจ้าพระยา และเขตรัตนโกสินทร์ ปลาช่อนที่เก็บได้จะบรรจุในน้ำแข็งและนำกลับห้องปฏิบัติการในวันเดียวกัน… (read more)