การใช้เอนไซม์แลคเคสในการย่อยสลายสารพิษและสีย้อมจากโรงงานอุตสาหกรรม
ดร.สุวิทย์ ล้อประเสริฐ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ การศึกษาเริ่มจากการนำดินจากแหล่งโรงงานที่ผลิตสี 5 แห่ง คือ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย)จำกัด บริษัท 3ชัยพิมพ์ผ้า บริษัทไทยโอเชี่ยนอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทไทยเกรทโปรดักส์ จำกัด และโรงงานฟอกหนัง จ.สมุทรปราการ มาทดลองค้นหาเชื้อที่มีความสามารถและคุณสมบัติที่ต้องการ พบเชื้อแบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเคสได้ในปริมาณสูง ตั้งชื่อว่า M4 แลคเคสที่ผลิตจากแบคทีเรีย M4 สามารถออกซิไดส์ guaiacol เป็น o-quinone ซึ่งมีสีน้ำตาล แบคทีเรีย M4 มีลักษณะเป็นเชื้อแกรมลบแบบท่อน โคโลนีที่โตบนอาหารแข็ง LA ที่ 37°C เป็นเวลา 18 ชั่วโมง มีสีเหลือง ขอบโคโลนีหยัก แห้ง เมื่อทำการเปรียบเทียบยีน 16S rRNA ขนาด 1,426 bp ของแบคทีเรียชนิด M4 กับฐานข้อมูลใน GenBank พบว่า แบคทีเรียชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับ… (read more)