การวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในอาหารและน้ำดื่ม
จากเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชาญ สว่างวงศ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการหาปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในตัวอย่างอาหารและน้ำดื่มจากพื้นที่มาบตาพุด สารอินทรีย์ระเหยง่าย 9 ชนิดได้แก่ เบนซิน ไวนิลคลอไรด์ 1,2-ไดคลอโรอีเทน ไดคลอโรมีเทน 1,2-ไดคลอโรโพรเพน เตตระคลอโรเอทธิลีน คลอโรฟอร์ม และ 1,3-บิวทาไดอีน ถูกแยกและตรวจวัดด้วยแก๊สโครมาโทกราฟีแมสสเปกโตรเมทรี ได้ศึกษาและเปรียบเทียบเทคนิคการสกัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย 2 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคการสกัดด้วยวัฎภาคของแข็งระดับจุลภาคและเทคนิคเพิร์จแอนด์แทรบ พบว่าเทคนิคเพิร์จแอนด์แทรบให้ประสิทธิการสกัด และขีดจำกัดการตรวจวัดที่ดีกว่า ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมได้ขีดจำกัดการตรวจวัดของสารอินทรีย์ระเหยง่ายอยู่ในช่วง 0.12-1.94 ไมโครกรัมต่อลิตร ความเที่ยงของวิธีการวิเคราะห์ 8-20% และร้อยละการกลับคืน 95-140% นอกจากนี้ได้นำเทคนิคที่พัฒนานี้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในตัวอย่างผักและน้ำดี่มจากเขตมาบตาพุด พบสารอินทรีย์ระเหยง่าย 6 ชนิด ได้แก่ เบนซิน 1,2-ไดคลอโรอีเทน ไดคลอโรมีเทน 1,2-ไดคลอโรโพรเพน เตตระคลอโรเอทธิลีน และ คลอโรฟอร์ม ในตัวอย่างผัก แต่ไม่พบในตัวอย่างน้ำดื่ม อย่างไรก็ตามความเข้มข้นที่พบมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงวิถีการปนเปื้อน ของสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วย

แหล่งข้อมูล:

  • โครงการวิจัยชื่อ “การวิเคราะห์ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายในอาหารและน้ำดื่มจากเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด” – ระยะเวลาโครงการ: ตุลาคม 2552 – ธันวาคม 2554