Archive for 2019

ทำไมถึงต้องเป็น….ห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025?

ดร.นุชนาถ รังคดิลก, สุมลธา หนูคาบแก้ว, นันทนิจ ผลพนา และ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา/แผนกปฏิบัติการวิเคราะห์ หน่วยวิจัยและวิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา วันนี้อยากจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC 17025 และทำไมเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีห้องปฏิบัติการทดสอบในการทำวิจัยหรือเพื่อให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ หลายๆคนคงสงสัยว่า มาตรฐาน ISO/IEC 17025 คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานสากลที่ร่วมกันระหว่าง International Organization for Standardization กับ International Electrotechnical Commission เพื่อกำหนดข้อกำหนดทั่วไป ว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน (General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories) ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานสากลที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของการทดสอบ หรือการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ มีความสำคัญอย่างยิ่งกับภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ส่งออกสินค้า ที่มีความจำเป็นต้องใช้ผลการทดสอบ/สอบเทียบ ที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ และเชื่อถือได้… (read more)

ข้อมูลด้านพิษวิทยาของ Chlorpyrifos ในช่วงทศวรรษนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา 1. Chlorpyrifos และผลกระทบต่อระบบประสาทของเด็ก เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มที่เปราะบางเพราะมีน้ำหนักตัวน้อย พัฒนาการของระบบต่างๆในร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมจึงมีผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ US EPA ได้ประกาศให้มีการค่อยๆเลิกใช้ Chlorpyrifos ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โดยตั้งต้นแต่ปี ค.ศ.2000-2001 และได้มีการศึกษาผลกระทบของมาตรการดังกล่าวในปี ค.ศ. 2003-2005 ในการรวบรวมข้อมูลจาก 50 ครัวเรือนซึ่งมีเด็กอายุ 3 ขวบ พบว่ามาตรการของ US EPA ได้ผล ทำให้เด็กได้รับสารกำจัดแมลงน้อยลง (Wilson et al., 2010) ในปี ค.ศ.2012 Rauh และคณะได้รายงานผลการวิจัยในวารสาร PNAS ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำของสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาเด็ก 40 คน อายุระหว่าง 5.9-11.2 ปี ซึ่งมารดาได้รับสาร Chlorpyrifos ระหว่างตั้งครรภ์ โดยการตรวจวัดสารนี้ในเลือดจากรกมารดา… (read more)