Archive for September 2011

การศึกษาโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษของโลหะหนักในปริมาณที่ตรวจพบใน
ตัวอย่างน้ำและอาหารจากเขตชุมชนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ ห้องปฏิบัติการเภสัชวิทยา สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ สถาบันบันฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า จังหวัดระยองเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต ซึ่งประกอบไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยที่ผ่านมาได้มีการศึกษาสำรวจพบว่าสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมฯ มีการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่มีความเป็นพิษสูง เช่น แคดเมี่ยม อีกทั้งจากการศึกษาของเราก่อนหน้านี้ ยังพบการปนเปื้อนของโลหะหนักเหล่านี้ ในตัวอย่างน้ำและอาหารที่สุ่มเก็บจากตลาดในชุมชนบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมฯ สำหรับการศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาโอกาสที่จะเกิดความเป็นพิษของโลหะหนักในปริมาณที่ตรวจพบในตัวอย่างน้ำและอาหารจากเขตชุมชนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมุ่งศึกษาไปที่โลหะ 3 ชนิด ได้แก่ สารหนู แคดเมี่ยมและแมงกานีส โดยปริมาณของโลหะทั้ง 3 ชนิดที่พบในน้ำดื่มและอาหารชนิดต่างๆ จะถูกนำมาคำนวณหาปริมาณที่คาดว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมฯ จะได้รับจากการรับประทานในแต่ละวัน ซึ่งค่าจากการคำนวณค่าเฉลี่ยของปริมาณที่ได้รับจากการรับประทานในแต่ละวันของ สารหนู แคดเมี่ยมและแมงกานีส คือ 0.645 0.076 และ 9.772 มิลลิกรัม ตามลำดับ หลังจากนั้น ได้นำค่าเฉลี่ยที่ได้นี้มาคำนวณหาความเข้มข้นของโลหะแต่ละชนิดเพื่อใช้ในการทดสอบความเป็นพิษในหลอดทดลอง (cytotoxicity test) โดยเลือกใช้เซลล์มะเร็งเต้านม (T47D) ปอด (A549) และเม็ดเลือดขาว (Jurkat) เป็นตัวแทน ซึ่งได้ค่าความเข้มข้น… (read more)