Archive for February 2010

การบำบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารตะกั่วโดยใช้พืช

ศ.ดร. มาลียา เครือตราชู ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัญหามลภาวะในสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก โลหะหนักเป็นสารก่อมลภาวะที่สำคัญ เพราะไม่ถูกทำลาย หรือสลายตัวช้ามากและมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตโดยมีการสะสมเป็นปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ในห่วงโซ่อาหาร โลหะหนักสำคัญที่เป็นปัญหามลภาวะของประเทศไทย คือ ตะกั่วและแคดเมียม ตะกั่วมีการสลายตัวช้ามาก (150 – 500 ปี) แหล่งที่มีการใช้ตะกั่ว คือ เหมืองตะกั่ว โรงงานอุตสาหกรรมสี น้ำมันเบนซิน โรงงานแบตเตอรี่ เป็นต้น ตะกั่วมีผลต่อสุขภาพ โดยมีผลต่อระบบประสาท ไต และ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การกำจัดตะกั่วในดิน อาจทำได้โดยการขุดดินที่ปนเปื้อน เคลื่อนย้ายออกมาเพื่อการฝังกลบ (landfill) และดินใหม่จะถูกนำมาแทนที่ ส่วนการกำจัดตะกั่วในระบบบำบัดน้ำเสีย อาศัยวิธีการทำให้ตะกั่วตกตะกอนด้วยสารเคมี ซึ่งต้องนำตะกอนเหล่านี้ไปฝังกลบอีกทีหนึ่ง กระบวนการเหล่านี้ มิได้แก้ปัญหาการปนเปื้อนเพียงแต่ย้ายดินหรือตะกอนที่มีโลหะหนักจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่งเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายสูงมาก นอกจากนี้ วิธีการดังกล่าวยังไม่สามารถกำจัดตะกั่วที่ปนเปื้อนในปริมาณต่ำๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาหาวิธีการกำจัดตะกั่วที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่สะอาด (clean technology) เทคโนโลยีการบำบัดดินหรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยโลหะหนักโดยใช้พืช (phytoremediation) เป็นทางเลือกอีกอันหนึ่งโดยอาศัยความสามารถของพืชที่ทนต่อโลหะหนัก และสะสมโลหะหนักได้เป็นปริมาณมากด้วย… (read more)

การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และภาพถ่ายดาวเทียม
ในงานด้านสิ่งแวดล้อม

ดร. สุวิสา มหาสันทนะ ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System :GIS) และ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างน่าสนใจ ในงานหลายสาขา รวมทั้ง งานด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือมักเรียกกันสั้นๆ ว่า จีไอเอส คือ ระบบการทำงานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพื้นที่ สามารถแสดงผลในรูปของแผนที่ สถิติ ตาราง หรือภาพ ในเชิงพื้นที่ได้ ใช้หลักการวิเคราะห์ โดยซ้อนข้อมูลทับกันเป็นชั้นๆ โดยยึดค่าพิกัดของข้อมูลแต่ละชั้นเป็นหลัก และวิเคราะห์หาผลลัพธ์ ตามเงื่อนไขความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้นได้ สามารถใช้ร่วมกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ได้ ตัวอย่างงานทางด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขที่สามารถใช้จีไอเอส ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การกระจายตัวของโรคหรือความเข้มข้นของมลพิษในบริเวณต่างๆ การแสดงจุดเก็บตัวอย่างและผลของการเก็บตัวอย่างในเชิงพื้นที่ การทำฐานข้อมูลในเชิงพื้นที่ การนำผลงานวิจัยในเรื่องต่างๆมาหาความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่กับข้อมูลอื่น เช่น หาความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเชิงอุตสาหกรรม แหล่งน้ำ แหล่งมลพิษ บ้านเรือนประชาชน โรงพยาบาล ชั้นน้ำใต้ดิน หรือ พื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น การใช้จีไอเอสในการหาพื้นที่ที่เหมาะสม… (read more)